Page 34 - คมองานบรหาร_Neat
P. 34
30
1.2 ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ข้อมูลท้องถิ่น สภาพอาชญากรรม เส้นทางคมนาคม เป็นต้น จะส่งผล
ต่อขนาด ลักษณะพื้นที่เขตตรวจ ตลอดจนรูปทรงเขตตรวจ เพื่อให้เหมาะสม ดังนี้
1.2.1 ข้อมูลท้องถิ่น ได้แก่ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน จัดท าข้อมูลเป็น 2 ประเภท
ใหญ่ ๆ ได้แก่
1.2.1.1 ข้อมูลสถานที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
1) สถานที่ทั่วไป เช่น วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ โรงพยาบาล โรงแรม
ที่พัก โรงงาน ฯลฯ
2) สถานที่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และสถานที่ที่ล่อแหลมต่อการเกิด
อาชญากรรม เช่น สถานทูต บ้านพักบุคคลส าคัญ (สว. สส. ผู้น าท้องถิ่น ผู้น าทางศาสนา ฯลฯ) สถานที่ท่องเที่ยว
ส าคัญที่มีผู้คนเข้ามารวมกันเป็นจ านวนมาก สถานบันเทิง สถานบริการ สวนสาธารณะ ที่เปลี่ยว ที่ล่อแหลมต่อ
การเกิดอาชญากรรม เป็นต้น
1.2.1.2 ข้อมูลบุคคล
1) บุคคลส าคัญในพื้นที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม เช่น สว., สส.,
นายก อบจ., หน.ส่วนราชการในพื้นที่, ผู้น าทางศาสนา, ผู้น าท้องถิ่นชุมชนที่ส าคัญ ฯลฯ
2) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม
(1) บุคคลที่มีหมายจับของต ารวจ ศาล ที่ยังหลบหนีการจับกุม
(2) บุคคลพ้นโทษ ที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่
(3) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการก่อคดีอาชญากรรมที่มีประวัติอยู่ใน
พื้นที่
(4) ผู้มีอิทธิพล/ผู้ให้การสนับสนุนบุคคลตามข้อ (1) – (3) (จัดท า
เป็นเอกสารลับมาก)
1.2.1.3 ข้อมูลกล้องวงจรปิดในพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดด้วยการส ารวจทั้งของเอกชน
และของทางราชการหรือของท้องถิ่น น ามาลงในแผนที่พื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด โดยปรากฏรายละเอียด ดังนี้
1) กล้องวงจรปิด ยี่ห้อใด ติดตั้งโดยใคร ระบบใด สามารถบันทึกความจ า
ได้กี่วัน เริ่มติดตั้ง ตั้งแต่ วัน เดือน ปี ใด
2) หากจะดูข้อมูลที่บันทึกในกล้อง ผู้รับผิดชอบที่สามารถเปิดกล้อง
ให้ตรวจดูเป็นผู้ใด หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ และสามารถตรวจดูได้ที่ได้บ้าง
3) น าข้อมูลในข้อ 1) และ 2) ลงในแผนที่เขตรับผิดชอบและบันทึกข้อมูล
ด้วยคอมพิวเตอร์สามารถค้นหาได้ง่าย โดยให้ส ารวจอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หากมีการเปลี่ยนแปลง เช่น
เครื่องบันทึกกล้องตัวใดเสียและก าลังซ่อมอยู่ จะซ่อมเสร็จใช้การได้เมื่อใด หมายเลขโทรศัพท์คนดูกล้องเปลี่ยน
หรือย้ายที่ท าการหรือไม่ หากย้ายไปแล้วผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบแทน โดยให้รายงานต่อหัวหน้างานป้องกัน
ปราบปราม และหัวหน้าสถานีต ารวจ เป็นปัจจุบัน ทุกเดือน