Page 32 - คมองานบรหาร_Neat
P. 32
28
3. ในส่วนของ OUTPUT จะเป็นการด าเนินการในขั้นตอนหลังการตรวจ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้บริหารงาน
สายตรวจต้องให้ความสนใจเพราะผลที่ได้จะเป็นตัวชี้วัดว่าสายตรวจมีผลงานอย่างไร งานสายตรวจ
ที่ด าเนินการไปได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ อันได้แก่
3.1 การรายงานผลการปฏิบัติของสายตรวจ ต้องรายงานเรื่องใด
3.2 การประเมินผลงานของสายตรวจจะประเมินในแง่ใด เช่น การลดลงของอาชญากรรม
และความหวาดกลัวของประชาชน การออกตรวจและปฏิบัติตามแผนการตรวจอย่างถูกต้อง การตรวจได้ปฏิบัติ
ภารกิจครบตามสั่ง ความรวดเร็วของการไประงับเหตุและการไปที่เกิดเหตุ เป็นต้น
4. ในส่วนของ FEEDBACK จะเป็นขั้นตอนที่ต่อเชื่อมกับ OUTPUT อย่างใกล้ชิด เพราะเมื่อมีการ
ประเมินผลแล้ว ผลที่ได้จากการประเมินต้องน ากลับไปปรับปรุงแก้ไขในส่วนของ INPUT เช่น เมื่อผู้บริหารงาน
สายตรวจพบว่าจากการประเมินผลต้องมีการปรับแผนการตรวจ ต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของสายตรวจ ต้องมี
การเปลี่ยนขนาดพื้นที่การตรวจ ต้องมีการเปลี่ยนตัวต ารวจสายตรวจ ต้องมีการจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสม
ให้กับสายตรวจเพิ่มเติมอีก ผู้บริหารก็สามารถน าเอาผลประเมินเหล่านี้ไปด าเนินการและปรับปรุงแก้ไขต่อไป
เป็นต้น
จะเห็นว่าเมื่อท าให้การบริหารงานสายตรวจเป็นไปในรูปของทฤษฎีระบบแล้วสามารถท าให้เห็น
ขั้นตอนการท างาน การบริหารงานสายตรวจได้อย่างครบวงจร โดยที่ได้ค านึงถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
ของสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นย่อมท าให้การบริหารงานสายตรวจสามารถ
ด าเนินการและเคลื่อนที่ไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจการบริหารงานสายตรวจ จึงขอเสนอรูปแบบของการบริหารงานสายตรวจด้วยทฤษฎี
ระบบดังที่ได้กล่าวแล้วด้วยแผนผังนี้