Page 36 - คมองานบรหาร_Neat
P. 36
32
สถานีต ารวจ ก. มีก าลังสายตรวจทั้งสิ้น 24 คน ต้องการจัดเป็นชุดตรวจ 4 ชุด จะได้ชุดตรวจ
ละ 6 คน และสายตรวจจ านวน 6 คนในแต่ละชุดนี้ ก็จะน ามาจัดเป็นสายตรวจจักรยานยนต์ได้ 3 คัน ฉะนั้น จะ
แบ่งเขตตรวจให้มีจักรยานยนต์รับผิดชอบเขตละ 1 คัน ได้ 3 เขตตรวจ
การจัดแบ่งเขตตรวจแบบนี้จะมีข้อเสียดังนี้
1) จ านวนเขตตรวจจะขึ้นกับจ านวนสายตรวจที่มีอยู่ในแต่ละ สน. นั้น
2) ไม่สามารถก าหนดได้อย่างชัดเจนว่า จ านวนสายตรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้น
เพียงพอหรือไม่ และไม่สามารถก าหนดจ านวนสายตรวจที่เหมาะสมตามสภาพความเป็นจริงได้ในแต่ละ สน.
3) การแบ่งเขตตรวจไม่ได้สัมพันธ์กับข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ (ตามข้อ 1 – 2 ข้างต้น)
ในข้อเสียทั้ง 3 ที่ได้กล่าวนี้ ได้อธิบายถึงเหตุผลและโอกาสที่จะน าไปใช้อีกส่วนหนึ่งแล้วในท้ายข้อ 3 เกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างก าลังพลและการแบ่งเขตตรวจ ซึ่งในประเด็นนี้ถือเป็นข้อเน้นย้ าที่จะต้องหลีกเลี่ยง
เพราะการปฏิบัติเช่นนี้เป็นวิธีการที่ถือปฏิบัติกันมาในอดีต และกลายเป็นการปิดกั้นการพัฒนาด้านก าลังพล
สายตรวจมาโดยตลอด เพราะนอกจากจะไม่เหมาะสมในตัวของมันเองในการปฏิบัติที่ถูกต้องปฏิบัติอย่าง
ต่อเนื่องเป็นเวลานานแล้ว การก าหนดจ านวนชุดปฏิบัติการสายตรวจเป็น 3 ชุด ก็ยังเป็นข้อขัดข้องอันเป็น
การผิดพลาดที่ได้ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปในหัวข้อเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ
สายตรวจและระบบการจัดสายตรวจ
2. การใช้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ (ตามข้อ 1 – 2 ข้างต้น) เป็นหลักในการแบ่งเขตตรวจ
หมายถึง การใช้ปัจจัยทั้งหมดมาก าหนดเขตตรวจขึ้นก่อนว่าควรจะมีกี่เขตตรวจ โดยไม่ค านึงถึงจ านวนก าลังพล
สายตรวจที่มีอยู่ใน สน. นั้น ตัวอย่างการแบ่งเขตตรวจเฉพาะสายตรวจจักรยานยนต์ เป็นดังนี้
สถานีต ารวจ ข. เมื่อใช้ปัจจัยตามข้อ 1 – 2 ข้างต้นสามารถแบ่งเขตตรวจที่เหมาะสมได้ 10 เขต
(สน. ข. มีก าลังพลสายตรวจจ านวน 24 คน เช่นเดียวกับ สน. ก.) ซึ่งควรจะมีจักรยานยนต์ตรวจทั้งสิ้น 10 คัน
(เขตละ 1 คัน) ในแต่ละผลัด ดังนั้นจ านวนสายตรวจที่ควรจะปฏิบัติหน้าที่จริงจะเป็น 20 คนใน 1 ผลัด และ
หากมี 3 ผลัดจะต้องใช้ก าลังพลสายตรวจจักรยานยนต์ทั้งสิ้น 60 คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จ านวนสายตรวจที่มีอยู่
จริงเพียง 24 คน ยังไม่พอเพียงต้องการเพิ่มอีก 36 คน เพื่อที่จะให้การจัดสายตรวจจักรยานยนต์มีจ านวน 1 คันครบ
ทุกเขตทุกผลัด และโดยหลักการแล้วสายตรวจจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีถึง 4 ชุด ทั้งนี้เนื่องจากใน 1 วัน ใช้
จ านวน 3 ชุด (3 ผลัด ๆ ละชุดตรวจ) ซึ่งจะต้องให้ชุดตรวจอีกชุดหนึ่งที่เหลือหยุดพัก
การจัดแบ่งเขตตรวจแบบนี้จะมีข้อดีดังนี้
1) การแบ่งเขตตรวจจะถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการ
2) สามารถก าหนดได้แน่ชัดว่าต้องการก าลังพลสายตรวจเพิ่มเติมอีกจ านวนเท่าใด
3) สามารถตรวจครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (หากจัดก าลังได้ครบทุกเขตตรวจ)
4) สามารถวางแผนการตรวจและการจัดก าลังสายตรวจได้อย่างมีระบบ