Page 30 - คมองานบรหาร_Neat
P. 30
26
บทที่ 3
การบริหารงานสายตรวจ
การบริหารงานสายตรวจเป็นการด าเนินการอย่างมีระบบเพื่อให้งานต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
และเกิดผลดีต่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากว่าการบริหารงานสายตรวจมิได้เป็นการด าเนินการ
อยู่กับที่และมิได้เป็นการด าเนินการโดยเอกเทศปราศจากปัจจัยแวดล้อมใด ๆ ทั้งปวง ในทางตรงกันข้าม
งานสายตรวจเป็นงานที่ต้องมีลักษณะของการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคม
สภาพปัญหาอาชญากรรม สภาพการพัฒนาของอาชญากร และสภาพการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้
งานสายตรวจจึงต้องมีรูปแบบการบริหารแบบเคลื่อนที่ไปพร้อมกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ดังที่
ได้กล่าวมาแล้ว การบริหารที่เหมาะสมกับงานสายตรวจ ได้แก่ ทฤษฎีระบบ ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่ได้รับใน
การด าเนินงานสายตรวจให้เป็นระบบมีหลักการสากลแล้ว ยังสามารถก่อให้เกิดการประเมินติดตามผล
แล้วน าไปปรับปรุงพัฒนางานสายตรวจในขั้นตอนต้นได้อีกด้วย
ทฤษฎีระบบประกอบด้วยส่วนส าคัญ 4 ส่วน ได้แก่
1. วัตถุดิบซึ่งเป็นส่วนที่เตรียมเบื้องต้น (INPUT)
2. กระบวนการ (PROCESS)
3. ผลผลิต (OUTPUT)
4. การประเมินผลและน ากลับไปปรับในส่วนที่ 1 (FEEDBACK)
ในรูปแบบ (MODEL) ของทฤษฎีระบบปรากฏตามแผนผังดังนี้
ในส่วนของการบริหารงานสายตรวจสามารถน าเอาทฤษฎีระบบมาประยุกต์ใช้ได้โดยน าไปเทียบเคียง
กับขั้นตอนการด าเนินงานสายตรวจดังนี้ โดยทั่วไปขั้นตอนการท างานในภาพของงานสายตรวจได้ถูกแบ่ง
ออกเป็น 8 ขั้นตอนอันได้แก่
1. การแบ่งเขตตรวจ
2. การจัดรูปแบบของสายตรวจ
3. การหาข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อวางแผนการตรวจ