Page 113 - e-book Health Knowledge Articles
P. 113

ปรับตัว ปรับใจ ผู้สูงวัย......พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง


                      ปัจจุบันโลกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
               การแพทย์ การดูแลสุขภาพของประชากร ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ล้วนแต่ส่งผลให้ชีวิตของคนนั้น

               ยืนยาวมากขึ้น จึงทำให้มีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญ
               ของประชากรสูงอายุ การระลึกถึงผู้สูงอายุที่สร้างสรรค์สิ่งดีงามและทำคุณประโยชน์แก่สังคม
                      สถานการณ์ขอ ง ผู้สูงอายุทั่วโลกนั้น คาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2050 หรือพ.ศ.
               2593    จะมีประชากรผู้สูงอายุ คิดเป็น 1 ใน 5 ของประชากรโลกทั้งหมด ในประเทศไทย ก็ได้

               คาดการณ์ว่า ประเทศไทยก็จะเข้าสู่   การเป็นสังคมสูงวัยเช่นกัน โดยจะมีประชากรผู้สูงอายุ
               เพิ่มขึ้น จาก 10.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.2 ในปี พ.ศ. 2554 เป็น 20.5 ล้านคน คิดเป็น
               ร้อยละ 32.1 ในปี พ.ศ. 2583 ดังนั้นผู้สูงอายุจึงเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ควรจะให้ความสำคัญ
               และเตรียมความพร้อมแต่เนิ่นๆ เนื่องจากผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

               มากมาย
                      สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุนั้น เกิดจากร่างกายที่มีความเสื่อมถอย
               การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น ปลดเกษียณหรือออกจากงาน การแยกครอบครัวของลูกหลาน

               ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ที่รุดหน้าไปไม่หยุดยั้ง
               หากปรับตัวไม่ทัน หรือรับมือการได้ไม่ดีพอ ก็อาจทำให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาทางจิตใจ โดย
               ผู้สูงอายุสามารถ ปรับตัว ปรับใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยใช้วิธีการ 5 ปรับ ดังนี้
                      1. ปรับกาย ให้มีร่างกายแข็งแรงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เช่น ออกกำลังกายอย่าง
               น้อยวันละ30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

                      2. ปรับอารมณ์ ให้มีอารมณ์ที่เป็นสุข สนุกสนาน  โดยเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ เล่น
               ดนตรี งานอดิเรกที่ชอบ
                      3. ปรับใจ ให้ภาคภูมิใจในตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง เช่น ช่วยเหลือตัวเองในเรื่องกิจวัตร

               ประจำวัน ทำงานบ้าน ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ฝึกการใช้สื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือทำกิจกรรมใหม่ๆใน
               ชุมชน หรือในสังคม
                      4. ปรับสมอง โดยทำกิจกรรมที่ชะลอความเสื่อมของสมอง เช่น พบปะเพื่อน ทำ
               กิจกรรมฝึกความจำ เช่น เล่นเกม หมากรุก ต่อคำ ต่อเพลง คิดเลข ใบ้คำ หรือฝึกเลี้ยงหลาน

                      5. ปรับความคิด ให้บริหารจิตใจให้เกิดสติ สมาธิ เช่น ฝึกการคิดเชิงบวก การควบคุม
               อารมณ์ การคลายเครียด การฝึกหายใจ การฝึกสติ สมาธิการปรับตัว ปรับใจพร้อมรับการ


                                                                                           107
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118