Page 167 - e-book Health Knowledge Articles
P. 167
พฤติกรรมป้องกันลดเสี่ยงเชื้อดื้อยา
อย่างแรกต้องปรับความเข้าใจกันใหม่กับคำว่า “ดื้อยา” ไม่ได้หมายความว่าร่างกาย
ของเรา ดื้อยา แต่มันคือการดื้อยาของ “เชื้อโรค”เรียกว่า “เชื้อดื้อยา” นอกจากนี้ยังมีสาเหตุ
อื่นๆ ที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาจากพฤติกรรมของคนเราอีกด้วย เช่น ใช้ยาพร่ำเพรื่อ ไม่สบายนิด
หน่อยก็กินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะโดยไม่ทราบว่าตนเองไม่สบายเพราะเหตุใด ใช่
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ ซื้อยากินเอง เสี่ยงต่อการได้ยาที่ไม่ถูกต้องตามสาเหตุของ
โรค แบ่งยากันใช้ คนทั่วไปมักจะคิดว่าหากเป็นโรคเดียวกัน มีอาการคล้ายคลึงกันก็สามารถ
แบ่งยากันใช้ได้ หยุดยาเอง กินยาไม่ครบตามปริมาณที่แพทย์สั่งเพราะคิดว่าหายดีแล้ว
การดื้อยาเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านแบคทีเรียมากจนเกินไป ทำให้เชื้อ
แบคทีเรียมีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองขึ้นจนกลายเป็นเชื้อดื้อยา หายารักษาได้ยากจนเป็นเหตุ
ให้เสียชีวิตจากการติดเชื้อในที่สุด โดยปัจจุบันพบว่า ในทุก 15 นาทีมีคนไทย 1 คนตายเพราะ
เชื้อดื้อยา ดังนั้น เราควรปรับพฤติกรรมป้องกันลดเสี่ยงเชื้อดื้อยา ดังนี้
1. ไม่ซื้อยาต้านแบคทีเรียกินตามคนอื่น การซื้อยาต้านแบคทีเรียมารับประทานเองอาจ
ได้ยาที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคนั้นได้ และส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้
2. ไม่ควรหยุดรับประทานยาต้านแบคทีเรียเมื่ออาการดีขึ้น ยาต้านแบคทีเรียต้องรับประทานติดต่อ
ตามที่กำหนด หากหยุดรับประทานอาจมีเชื้อโรคหลงเหลืออยู่และเชื้อโรค จะพัฒนาตัวเองไปสู่
การดื้อยาได้
3. ไม่ซื้อยาต้านแบคทีเรียกินเองตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ ในครั้ง
ก่อนๆ ยาต้าน แบคทีเรีย จะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคแต่ละชนิดต่างกัน การ
ใช้ยาต้านแบคทีเรีย โดยไม่เลือกให้เหมาะกับชนิดเชื้อโรค นอกจากจะทำให้ไม่หาย
แล้ว ยังส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้
4. ไม่ใช้ยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย การใช้ยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย นอกจากจะ
เป็นการใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม ยังเป็นการใช้ยาที่เกินความจำเป็น และอาจทำ
ให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
5. ไม่ควรเปลี่ยนไปใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดที่แรงกว่าด้วยตนเอง การใช้ยาต้าน
แบคทีเรียฆ่าเชื้อโรค ต้องใช้ในขนาดที่เหมาะสม บางครั้งอาการเจ็บป่วยต้องใช้
ระยะเวลาพอสมควรอาการถึงจะดีขึ้น การเปลี่ยนตัวยาที่แรงขึ้น อาจทำให้เกิดเชื้อ
ดื้อยาได้
161