Page 172 - e-book Health Knowledge Articles
P. 172
แผลสะอาด หายได้.......ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
แผลสะอาด ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หมายถึง บาดแผลเปิดที่มีขอบเรียบ ไม่มีเนื้อ
ตาย บาดแผลสกปรกแต่ล้างออกง่าย บาดแผลสะอาด เช่น แผลมีดบาด แผลถลอก ขีดข่วน
บาดแผลเล็กน้อยจากอุบัติเหตุ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งหากทำความสะอาดและดูแลบาดแผล
อย่างถูกต้องแผลจะไม่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียเลย ยาปฏิชีวนะไม่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เพราะ
แผลที่ไม่ติดเชื้อ หากรักษาความสะอาดให้ดี แผลก็หายเองได้การรับประทานยาปฏิชีวนะจึงเป็น
การใช้ยาโดยไม่จำเป็น เปลืองเงิน เสี่ยงต่อการแพ้ยา และทำให้เชื้อดื้อยา
ส่วนแผลที่มีโอกาสติดเชื้อสูง “ควรใช้ยาปฏิชีวนะ ป้องกันการติดเชื้อ” หมายถึง แผลถูก
วัตถุทิ่มเป็นรู ถูกบดอัด มีเนื้อตาย ขอบไม่เรียบ ปนเปื้อนสิ่งที่มีแบคทีเรียมาก เช่น น้ำคร่ำ น้ำ
สกปรก
วิธีดูแลบาดแผล
1. ล้างมือให้สะอาดก่อนทำแผล
2. ล้าง ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่ และซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
3. ใส่ยาใส่แผล อาจปิดแผลด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าปิดแผล
4. ไม่ให้แผลโดนน้ำ 2-3 วันและอย่าใช้น้ำลาย น้ำหมาก หรือสิ่งอื่นใดพอกที่แผล
หากแผลมีอาการบวม แดง มีหนอง ร้อน ปวดแผล หรือมีไข้ให้รีบไปพบแพทย์
โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตับแข็งโรคพิษสุราเรื้อรัง
หลอดเลือดส่วนปลายตีบ โรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
บาดแผลที่ต้องไปสถานพยาบาล ไม่สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง เพราะต้องทำการรักษา
อย่างถูกวิธี ได้แก่ ถูกสัตว์มีพิษกัด ต้องรีบไปล้างแผลและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
โรคบาดทะยัก ฯลฯ บาดแผลมีขนาดใหญ่ ลึก หรือเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง แผลมีเลือดไหลไม่
หยุด แผลปนเปื้อนสิ่งสกปรก เช่น อุจจาระ ปัสสาวะน้ำสกปรก เศษอาหาร
สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้เกิดบาดแผล คือ การซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง การ
แกะแคปซูลยาปฏิชีวนะมาโรยแผลทำให้แผลสกปรก หากเกิดการอักเสบและติดเชื้อ
เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร โดยกินยาให้ครบ
ตามขนาดและตามกำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าแบ่งยาให้ผู้อื่น เพราะจะทำให้ทั้งเราและผู้อื่นกินยา
ไม่ครบตามขนาด อย่าเก็บยาไว้กินครั้งต่อไป เพราะยาอาจหมดอายุ หรืออาจเป็นเชื้อชนิดอื่นที่
ไม่สามารถใช้ยานี้รักษาได้ อย่าใช้ยาปฏิชีวนะตามที่คนอื่นแนะนำ เพราะเขาอาจหวังดีแต่เขาไม่มี
166