Page 177 - e-book Health Knowledge Articles
P. 177

ฝุ่นละอองในอากาศPM 2.5…..อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

                      ในช่วงเวลาที่ผ่านมาบางพื้นที่ในประเทศไทยรวมถึงพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและ
               ปริมณฑลประสบกับปัญหา ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่งมลพิษที่อยู่คู่
               กับคนไทยอย่างยาวนาน เพราะสาเหตุหลักสำคัญเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งการจะ

               แก้ปัญหาอย่างเด็ดขาดยังต้องอาศัยเทคโนโลยีและแนวทางจัดการอย่างยั่งยืน ดังนั้น เมื่อเรายัง
               ต้องเผชิญปัญหาต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองในอากาศ PM 2.5 อย่างไม่สามารถที่จะกำหนด
               ระยะเวลาที่จะจัดการได้ สิ่งที่จะทำได้ คือ การรู้เท่าทันความอันตราย หลีกเลี่ยงและระมัดระวัง

               การใช้ชีวิต เพื่อให้มีผลกระทบต่อร่างกายให้น้อยที่สุด ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน  มี
               ขนาดเล็กมากพอที่จะหายใจเข้าไปสู่ปอด และซึมผ่านผนังปอดเข้าสู่กระแสเลือดจะส่งผลต่อ
               ร่างกายมี 2 แบบ

                          1.  แบบเฉียบพลัน (เห็นผลใน 1 - 2 วัน) ซึ่งส่วนมากจะเกิดกับระบบทางเดิน
               หายใจ คือ ไอ เจ็บคอ หายใจแล้วมีเสียงฟืดฟาด เลือดกำเดาไหล ซึ่งหากเลือดไหลลงคอก็จะทำ
               ให้เสมหะมีเลือดเจือปน หากเข้าตาก็จะทำให้เคืองตา ตาแดง และหากโดนผิวหนังก็จะทำให้เกิด
               ผื่นคัน เป็นตุ่มได้
                          2.  แบบ ‘เรื้อรัง’ ที่ค่อย ๆ สะสม แล้วแสดงผลในระยะยาว คือ เส้นเลือดหัวใจตีบ

               ตันทำให้   หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองตีบ ทำให้เกิดภาวะอัมพาตหรือ
               เสียชีวิตการเป็นมะเร็งปอดเพราะฝุ่นขนาดเล็กจะมีสารก่อมะเร็ง Polycyclic Aromatic
               Hydrocarbon (PAH) อีกระบบหนึ่ง คือ เข้ารกไปทำอันตรายเด็กในท้อง ทำให้เด็กคลอดก่อน

               กำหนด น้ำหนักน้อย ติดเชื้อง่าย ทุพโภชนาการ และเป็นโรคออทิสซึม
                      ดังนั้น แล้วทุกคนจึงควรป้องกันการรับฝุ่นละอองในอากาศ PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย
               โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้สูงวัย (อายุมากกว่า 60 ปี) เพราะมีความต้านทานโรคน้อยและส่วน
               ใหญ่จะมีโรคประจำตัว รองลงมา คือ เด็กอายุ  ต่ำกว่า 10 ปี เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย

               อีกกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะมีผลกระทบโดยตรง  คือ ผู้ป่วยโรคปอดและ
               โรคหัวใจซึ่งเมื่อได้รับฝุ่นเข้าไปอาจทำให้อาการกำเริบจนเสียชีวิตได้

               แหล่งที่มา :  ศ.ดร.นพ.พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์

                               มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แพทย์ชี้ฝุ่น PM 2.5 เล็กทะลุปอดเข้ากระแสเลือด ส่งผล
                           กระทบต่อ ร่างกายหลายจุดทั่วร่างกรุงเทพธุรกิจ
                         : สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรคกระทรวง   สาธารณสุข

                                                                                           171
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182