Page 332 - ธรรมะบรรยาย2564
P. 332
ต้องหากำลังใจให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะให้ไฟธาตุต่าง ๆ นี้ มันทำงานได้ดี นี่เรียกว่า “สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส” อันนี้คือคุณสมบัติของพระโสดาบัน
ถ้าหากว่าเราเข้าใจได้อย่างนี้ อย่างปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ฟังอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
์
จบลงแล้ว ปัญจวัคคีย ๑ ใน ๕ คือ โกณฑัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม คือมีตาในเกิดขึ้น ตานอกก็
มองเห็นเฉพาะภายนอก ไม่สามารถมองเห็นข้างในได้ แต่ถ้าหากว่าเกิดดวงตามธรรมขึ้นมา ก็จะ
เห็นว่า “สักกายทิฐิ” นี่เองที่เรามาหลงร่างกายของเราตั้งนานว่ามันคงทนถาวร ที่ไหนได้มันมีการ
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลามันเป็นอย่างนี้เอง ก็เลยหายความสงสัย เรียกว่าเกิด “สักกายทิฐิ” มีความ
ั
เข้าใจในร่างกาย “วิจิกิจฉา” ก็ไม่ลังเลสงสยแล้ว มันจะป่วยมันก็ต้องป่วยแน่นอน เราห้ามไม่ได้ มัน
จะตาย มันก็ห้ามไม่ได้อีก ก็เลยไม่ลังเลสงสัย “สีลัพพตปรามาส” ก็เลยปฏิบัติถูก ก็คือไม่ปฏิบัติผิด
ต่อร่างกาย นั่นคือ “สีลัพพตปรามาส” หมายถึงการปฏิบัติถูกต่อร่างกาย ไม่ทรมานร่างกายเกิน ไป
ิ
ไม่ทำให้ร่างกายมันหิว ง่วงก็ไม่นอนอย่างนี้ก็ถือว่าผด หิวข้าวก็ไม่ทาน อย่างนี้ก็ถือว่าผิด กระหาย
น้ำก็ไม่ดื่ม ก็ผิดเหมือนกัน
ึ
เพราะฉะนั้น ต้องอยู่ในขั้นความพอเหมาะพอดี ความพอเหมาะพอดีอยู่ที่ไหน อยู่ที่การฝก
พอฝึกแล้วท่านจะรู้ว่าความพอเหมาะพอดีมันอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้น “มัชฌิมาปฏิปทา” คือข้อ
ปฏิบัติที่จะทำให้เกิดความพอดี อยู่ที่การฝึกแล้วฝึกอีก ๆ ความรู้ก็จะเกิดขึ้น อ้อ พอดีมันอยู่ตรงนี้
เอง จากนั้นพระพุทธเจ้าก็แนะนำปัญจวัคคีย์องค์ที่ ๒ องค์ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ จนได้ธรรมจักษุเหมือนกัน
คือดวงตาเห็นธรรม เรยกง่าย ๆ ก็คือว่า มีตาในเกิดขึ้น ทีนี้เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบว่าปัญจวัคคีย์
ี
ทั้ง ๕ นี้ มีดวงตาในเกิดขึ้นเหมือนกันแล้ว โกณฑัญญะก็มีดวงตาใน วัปปะก็มีดวงตาใน ภัททิยะก็มี
ดวงตาใน มหานามะก็มีดวงตาใน อัสสชิก็มีดวงตาใน ก็จึงเรียกมา พอเรียกมาแล้วก็ตรัสว่า “รูปง
ั
ภิกขะเว อนัตตา” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปนี้เป็น “อนัตตา” อันนี้หมายความว่า ถ้าเปรียบเทียบเป็น
่
ปัจจุบันหมายความวา ปัญจวัคคีย์นี้มีกล้องเอ็กซเรย์แล้ว เอ็กซเรย์อะไร เอ็กซเรย์ร่างกาย ให้เห็น
ตับ เห็นไต เห็นไส้ เห็นพุง เห็นทะลุปรุโปร่ง เมื่อมีกล้องเอ็กซเรย์ก็ย่อมเห็นร่างกายนี้เปลี่ยนแปลง
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสต่อไป “หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ” ถ้าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวตน
แล้วไซร้ “นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ” ร่างกายนี้ก็ไม่ควรจะเป็นการเปลี่ยนแปลง คือไม่
ต้องอาพาธ ไม่ต้องป่วย ไม่ต้องปวดหัว ไม่ต้องปวดตา ไม่ต้องเจอโรคโควิด ไม่ต้องมีอวัยวะส่วนใด
ส่วนหนึ่งต้องแก่ชราต้องคร่ำคร่า หูก็ต้องหูดีตลอด ตาก็ตาดีตลอด ฟันก็ฟันดีตลอด ผมก็ไม่ร่วง
ร่างกายไม่เหี่ยวแห้ง อันนี้ท่านบอกว่า “ลัพเภถะ จะ รูเป” เราต้องได้อย่างนั้น “เอวัง เม รูปัง โหตุ
เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ” อย่าให้ร่างกายของเราแม้แต่ส่วนใดส่วนหนึ่งอย่าได้เปลี่ยนแปลงไปเลย
๓๓๒