Page 20 - สรุปติว
P. 20
20
ระเบียบฯ ว่าด้วยการให้ข่าวฯ
1. โฆษกศาลยุติธรรม ปัจจุบัน ชื่อ นายสุริยัณห์ หงส์วิไล
2. การให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางศาลยุติธรรมที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการพิจารณาพิพากษาคดี ไม่สามารถกระทําได้
3. ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาให้ข่าวของศาลยุติธรรมอย่างรอบคอบ โดยเลือกใช้สื่อมวลชนตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อธํารงไว้ซึ่ง
ความน่าเชื่อถือของศาลยุติธรรมเป็นสําคัญ กับเพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิดหรือขัดแย้งกับหน่วยงานอื่นหรือทัศนคติที่ไม่ดีต่อศาลยุติธรรม
4. การให้ข่าว หรือการแสดงความคิดเห็นหรือแถลงข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถกระทําได้ การให้ข่าวหรือการแสดงความคิดเห็นหรือแถลง
ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือสื่อมวลชนที่เป็นเรื่องของหน่วยงานอื่น หรือที่อาจกระทบกระเทือนต่อบุคคลหรือหน่วยงานใด รวมทั้งการวิจารณ์
หรือให้ความเห็นแก่บุคคลหรือสื่อมวลชนเกี่ยวกับคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลหรือคดีที่กําลังหรืออาจจะขึ้นสู่ศาล
5. การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพหรือเสียง หรือการกระทําอย่างอื่นใน ทํานองเดียวกันในบริเวณศาลหรือในห้องพิจารณาที่ไม่มีการ
พิจารณาคดี กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาต จากผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบในราชการของศาล
6. การกระทําไม่ว่าโดยวิธีการใดๆ ให้ปรากฏซึ่งภาพหรือเสียง หรือทั้งภาพและ เสียง การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพหรือเสียง หรือการกระทําอย่าง
อื่นในทํานองเดียวกันใน ระหว่างการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีของศาล จะกระทํามิได้ เว้นแต่เป็นการกระทําในการพิจารณา คดีตามกฎหมาย
7. การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพหรือเสียงผู้ต้องหาหรือจําเลยในขณะที่อยู่ใน สถานที่ควบคุมภายในศาลหรือในขณะที่เจ้าหน้าที่กําลังควบคุมผู้ต้
องหาหรือจําเลยนั้น จากสถานที่ควบคุมภายในศาลหรือห้องพิจารณาไปยังสถานที่ต่างๆ ในบริเวณศาล ไม่สามารถกระทําได้
8. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและลูกจ้างของสํานักงานศาลยุติธรรม ซึ่งไม่มีหน้าที่ในการให้ข่าวตามระเบียบนี้ห้ามมิให้ให้ข่าว หากมีการ
ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือว่าเป็นความผิดทางวินัย และให้เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมดําเนินการดังนี้
(1) กรณีเป็นการกระทําของข้าราชการตุลาการให้รายงานต่อ ก.ต.
(2) กรณีเป็นการกระทําของข้าราชการศาลยุติธรรมและลูกจ้างของสํานักงานศาลยุติธรรม ให้ดําเนินการทางวินัยต่อไป
*******************************************************
ค่าป่วยการผู้เชี่ยวชาญฯ
1. ให้ศาลกําหนดค่าป่วยการให้แก่ผู้เชี่ยวชาญในอัตราขั้นต่ําในอัตราครั้งละ 600 บาท ขั้นสูงในอัตราครั้งละ 2,000 บาท
2. ให้ศาลกําหนดอัตราค่าตอบแทนนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา หรือเจ้าพนักงานอื่นในการจัดทํารายงาน ขั้นต่ําคดีละ 500 บาท ขึ้นสูงคดีละ
5,000 บาท โดยคํานึงถึงความยากง่ายของงานปริมาณของงาน และระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติงาน
3. ให้ศาลกําหนดอัตราค่าตอบแทนนักสังคมสงเคราะห์นักจิตวิทยา หรือเจ้าพนักงานอื่นในการกํากับ ดูแลการใช้อํานาจของผู้อนุบาล ขั้นต่ําคดี
ละ 500 บาท ขึ้นสูงคดีละ 5,000 บาท โดยคํานึงถึงความยากง่ายของงาน ปริมาณของงาน และระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติงาน
****************************************************************
ค่าป่วยการผู้ประนีประนอมฯ
1. ให้ผู้ประนีประนอมคดีครอบครัวได้รับค่าป่วยการเป็นรายคดี คดีละ 1,000 บาท
2. ในคดีที่มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือใช้เวลาในการไกล่เกลี่ยรวมกันแล้วเกินกว่า 6 ชั่วโมง ผู้รับผิดชอบราชการศาลอาจกําหนดค่าป่วย
การให้แก่ผู้ประนีประนอมคดีครอบครัวให้เกินกว่าที่ 1,000 บาท แต่ต้องไม่เกินคดีละ 6,000 บาท
3. คุณสมบัติของผู้ประนีประนอม คือ
(1) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบปีบริบูรณ์
(2) เป็นผู้สําเร็จการศึกษาไมต่ํากว่าปริญญาตรีและมีประสบการณ์ในการทํางานมาไม่น้อยกว่าห้าปี หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ใน
การทํางานสาขาต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่การไกล่เกลี่ยไม่น้อยกว่าสิบปี
(3) เป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรเทคนิคหรือวิธีการไกล่เกลี่ยที่สํานักงานศาลยุติธรรมจัด หรือรับรอง
(4) มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ยในศาลหรือในสํานักส่งเสริมงานตุลาการ สํานักงานศาลยุติธรรม ไม่น้อยกว่าสิบคดี”
นนทวิกา วงษ์สกุล