Page 23 - สรุปติว
P. 23
23
- ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันควร หรือละทิ้งหน้าที่ ราชการในเดือนใด
- กรณีมีภารกิจที่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการเร่งด่วน ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใด ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งของผู้บังคับ
บัญชา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
4. ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้นั้น เป็นเวลา 6 เดือน
นับแต่วันที่มีคําสั่งให้ลงโทษ
5 ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใดถูกสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ให้งดจ่าย เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้นั้น
เป็นเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ถูกสั่งลงโทษ
6. อัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษลูกจ้าง
- เมื่อพ้นทดลองปฏิบัติงานหรือเมื่อพ้น 6 เดือน แล้วแต่กรณี ให้ได้รับค่าตอบแทน 4,000 บาท
- ปฏิบัติงาน 5 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าตอบแทน 5,000 บาท
7. การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ลูกจ้าง ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ลูกจ้างประจํา ให้จ่ายตั้งแต่วันที่ผ่านการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(2) พนักงานราชการศาลยุติธรรม และลูกจ้างชั่วคราวให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ปฏิบัติงานพ้น 6 เดือนนับแต่วันที่สํานักงานศาล
ยุติธรรมมีคําสั่งจ้างในปีงบประมาณแรกเป็นต้นไป
8. ลูกจ้างที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาในแต่ละรอบการประเมิน
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
*************************************************************
ค่ารับรอง
1. “ค่ารับรอง” หมายความว่า ค่าเลี้ยงรับรอง
- ค่าของขวัญ
- ค่าพิมพ์เอกสาร และ
- ค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งจําเป็นต้องจ่ายเกี่ยวกับการรับรอง เพื่อเกียรติแห่งประธานศาลฎีกาฯลฯ
2. ค่ารับรองของเลขาธิการ ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท โดยอนุมัติของเลขาธิการ
3. ค่ารับรองของศาลยุติธรรม ให้จ่ายได้ตามความจําเป็น เหมาะสม และเท่าที่จ่ายจริง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 200,000 บาท
*****************************************************************
ค่าตอบแทนฯในพื้นที่พิเศษฯ
1. ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งและปฏิบัติราชการประจํา หน่วยงานในพื้นที่พิเศษ หรือได้รับคําสั่งให้ปฏิบัติราชการใน
ลักษณะประจําในหน่วยงานในพื้นที่พิเศษ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสําหรับการปฏิบัติงานประจําหน่วยงานในพื้นที่พิเศษ คนละ 2,000
บาท ต่อเดือน
2. ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมประกาศกําหนดหน่วยงานในพื้นที่พิเศษ โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ความยากลําบากของการคมนาคม
(2) ความขาดแคลนสาธารณูปโภค สาธารณูปการ หรือปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีพ
(3) ความเสี่ยงภัย
(4) ความชุกชุมของโรคภัยไข้เจ็บ
*********************************************************************
นนทวิกา วงษ์สกุล