Page 2 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 2
ค ำน ำ
การเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นความท้าทายของการจัดการศึกษาและการพัฒนาการ
จัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองต่อ
ผู้เรียนอย่างมีเป้าหมาย ในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั้น เน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียน
โดยทักษะที่ส าคัญ ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการแก้ปัญหา (Critical thinking and
problem solving) ซึ่งในการจัดการศึกษาทางการพยาบาล ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขา
พยาบาลศาสตร์ พ.ศ.2552 (Thai Qualification Framework for Higher Education: TQF) ได้ก าหนดผล
การเรียนรู้ของบัณฑิตอย่างน้อย 5 ด้าน ซึ่งด้านที่ส าคัญหนึ่งในนั้นคือ ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive
skills)
สถาบันพระบรมราชชนกจัดการศึกษาในสาขาวิชาชีพทางการพยาบาลและการสาธารณสุข ซึ่งเป็น
วิชาชีพที่ต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่หลากหลายและเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ จึงจ าเป็นต้องใช้กระบวนการ
คิดอย่างมีวิจารณญาณให้มาก ดังนั้นการเรียนรู้จากประสบการณ์หรือการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติ
(Reflective Practice or Reflection on Practice) จึงมีความส าคัญต่อการคิด การตัดสินใจแก้ปัญหาใน
สถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective Thinking) เป็น
วิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการคิดวิเคราะห์ เพราะการสะท้อนคิด (Reflection) ช่วย
ให้ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์ เข้าใจศักยภาพ และตระหนักรู้ในตนเอง สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจขึ้นเอง
จากประสบการณ์รอบตัว มีความพร้อมต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถแก้ปัญหา พัฒนาการท างานและพัฒนา
ตนเองอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาอาจารย์ ตลอดจนเครื่องมือที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดจึงมีความส าคัญ
และจ าเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้อาจารย์มีความรู้ ความสามารถและทัศนคติที่ดีต่อการสอนแบบสะท้อนคิด ที่
ส่งเสริมทักษะทางปัญญา ดังนั้นคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเล่มนี้จึงได้รับการพัฒนาและปรับปรุงขึ้น
เพื่อใช้ประกอบ โปรแกรมการพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ส าหรับอาจารย์ในวิทยาลัย
เครือข่ายภาคใต้ สถาบันพระบรมราชชนก ซึ่งภายหลังจากการได้ทดลองใช้และเผยแพร่ ได้มีการปรับปรุง
เนื้อหาให้มีความสมบูรณ์เหมาะสม ทั้งนี้คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน ผู้เรียนและผู้สนใจ ในการเตรียม
ตัวผู้สอน ผู้เรียน การฝึกฝนเทคนิคและทักษะการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ตลอดจนสามารถน าไปประยุกต์ใช้
เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ดร.ขวัญตา บุญวาศ
9 มกราคม 2561