Page 7 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 7
บทที่ 1
ความรู้พื้นฐานในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
ความส าคัญของการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
สถาบันพระบรมราชชนก เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยมีภารกิจหลักในการผลิตและ
พัฒนาก าลังคนด้านสุขภาพ โดยได้จัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และสหเวช
ศาสตร์ เมื่อบัณฑิตส าเร็จการศึกษาจะเป็นบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพที่ปฏิบัติงานในท้องถิ่น ชุมชน ทั้งนี้
สถาบันพระบรมราชชนกได้ให้ความส าคัญต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาอาจารย์เพื่อ
เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการสอน ด้วยการสนับสนุนทุนในการฝึกอบรมและพัฒนาอาจารย์ด้านการ
จัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการ
เรียนการสอนที่ผ่านมา ยังพบว่าบัณฑิตยังขาดทักษะความคิด โดยนักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ
ทางปัญญา คือทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ และประสบการณ์เข้ากับงานในการฝึก
ภาคปฏิบัติ และจากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับปานกลาง
(สมเกียรติ สุทธรัตน์, และพัชนี สมก าลัง, 2555; กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, สราญ นิรันรัตน์,
จิราภรณ์ จันทร์อารักษ์, บุญเดือนวัฒนกุล, และทุติยรัตน์ รื่นเริง, 2558; Tsang, 2012) นอกจากนี้ยังพบความ
ขัดแย้งในการสอนคือ อาจารย์พยาบาลจ านวนมากใช้การบรรยายเนื้อหาแก่ผู้เรียน จุดเน้นของการบรรยายที่
ใช้รายวิชาเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วย 3 อย่างได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน และลักษณะรายวิชา ส่วนการปฏิบัติงาน
ประกอบด้วย 1) องค์ความรู้ 2) ทักษะพื้นฐาน 3) ความประพฤติทางจริยธรรม ดังนั้น ผู้สอนจ าเป็นต้องค านึง
ว่าควรจะสอนอย่างไรเพื่อพัฒนาการฝึกปฏิบัติ (Sheerwood and Deutsch, 2017) ทั้งนี้เพราะวิชาชีพการ
พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่หลากหลายและเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งจ าเป็นต้อง
ปฏิบัติงานโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งการเรียนรู้จากประสบการณ์หรือการสะท้อนคิดจาก
การปฏิบัติ (Reflective Practice or Reflection on Practice) มีความส าคัญต่อการคิด การตัดสินใจ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการโดยจะช่วยให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหาที่ยึด
ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งช่วยให้เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติได้ดีขึ้น (Chirema, 2007)
ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนของสถาบันพระบรมราชชนก สาขาพยาบาลศาสตร์ สาธารณสุข
ศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ ได้ให้ความส าคัญต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญา ความสามารถในการคิดอย่างมี
วิจารณญาณของผู้เรียนเนื่องจากในการจัดการเรียนการสอนมีการฝึกภาคปฏิบัติซึ่งผู้เรียนต้องมีความเกี่ยวข้อง
กับชีวิตมนุษย์ และเมื่อส าเร็จการศึกษาเป็นบุคลากรทางพยาบาลและการสาธารณสุขก็ยิ่งมีความจ าเป็นที่
จะต้องมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยอัน
น าไปสู่การมีสุขภาพดีของผู้ป่วย (ศิราณี เก็จกรแก้ว, 2552) การน าแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด