Page 10 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 10
3. การฝึกปฏิบัติการสะท้อนคิด (Reflective practice)
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn)
โดยในแต่ละขั้นมีรายละเอียด ดังนี้
1. ขั้นการเรียนรู้ (Learn) หมายถึง การที่ผู้สอนศึกษาค้นคว้า และฝึกทักษะตามเนื้อหาในคู่มือ
การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ส่วน ตามล าดับได้แก่ 1) ความรู้พื้นฐานในการจัดการ
เรียนรู้แบบสะท้อนคิด 2) การเตรียมตัวผู้สอน ผู้เรียน และเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบสะท้อน
คิด 3) การด าเนินการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด และ 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
2. ขั้นการสะท้อนการเรียนรู้ (Reflective learning) หมายถึง การที่ผู้สอนใช้กระบวนคิด
เพื่อพิจารณาไตร่ตรองการจัดการเรียนรู้ของตนเองหรือบุคคลอื่น เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้
บรรลุเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การที่ผู้สอนสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองและแลกเปลี่ยนมุมมอง
การจัดการเรียนรู้กับบุคคลอื่นอย่างสม่ าเสมอ จะท าให้มีข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของ
ตนเองให้ดียิ่งขึ้น การสะท้อนการเรียนรู้จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาตนเองของผู้สอน และสามารถ
น าไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ระยะการเตรียมก่อนการสอน เช่น การค้นหา
ว่าผู้สอน ผู้เรียน ต้องการและคาดหวังผลลัพธ์การเรียนรู้อะไร รวมถึงความรู้ด้านเนื้อหา ทักษะและ
กระบวนการจัดการเรียนรู้ นอกจากนี้การสะท้อนการเรียนรู้ยังมีความจ าเป็นทั้งในระยะการด าเนินการสอน
การวัดและประเมินผล เนื่องจากการสะท้อนการเรียนรู้ในมุมมองของผู้สอน ผู้เรียน และบุคคลที่เกี่ยวข้องมี
ความส าคัญต่อการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การสะท้อนการเรียนรู้เป็นสิ่งส าคัญ ซึ่งผู้สอนต้องวางแผน ก าหนดการด าเนินงานเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน
เช่น การบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ของผู้สอน ก่อนการสอน ระหว่างการสอน และหลังการสอน โดยการ
บรรยายสภาพการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น การค้นหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผล เชื่อมโยงไปถึงการวางแผน
ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป รวมถึงการออกแบบการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียน และ
บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ร่วมสอน ผู้สังเกตการณ์ เป็นต้น
ดังนั้น การที่ผู้สอนสะท้อนการเรียนรู้ (Reflective Learning) ของตนเอง และการสะท้อนการเรียนรู้
ร่วมกับบุคคลอื่น จะท าให้ได้มุมมองที่ครอบคลุมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ น าไปสู่การเตรียมการ การ
ด าเนินการ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งการสะท้อนคิดอย่างเป็นระบบจะน าไปสู่การพัฒนา
คุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืนในที่สุด
3. ขั้นการฝึกปฏิบัติการสะท้อนคิด (Reflective practice) หมายถึง การที่ผู้สอนฝึก
ปฏิบัติการสะท้อนคิดด้วยตนเอง ในที่นี้ใช้วงจรการสะท้อนคิดของ Gibbs (1988) เนื่องจากเป็นวงจรที่มี
โครงสร้างชัดเจน เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ปฏิบัติได้ง่ายและเหมาะสมส าหรับการประยุกต์ใช้ในการ
จัดการเรียนรู้ Gibbs ได้แบ่งขั้นตอนการสะท้อนคิดเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้