Page 11 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 11

3.1 การบรรยายสภาพการณ์ (Description) เป็นการบรรยายว่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น

               บ้าง (What happened) อะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนคิด เป็นการบรรยายที่เกิดจากความรู้สึกที่
               ก าลังเผชิญกับสถานการณ์นั้น ๆ

                              3.2 ความรู้สึก (feelings) เป็นการแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นว่าคิดและรู้สึกอย่างไรต่อ

               เหตุการณ์นั้นๆ (What were you thinking and feeling) โดยสังเกตความรู้สึก และการรับรู้ว่าเรามีปฏิกิริยา
               อย่างไร หรือรู้สึกอย่างไรกับอุบัติการณ์ สถานการณ์ หรือประเด็นแนวคิดนั้น เช่น การขาดความมั่นใจ ความ

               กลัว ความสับสนในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
                              3.3 การประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินว่า มีเหตุการณ์อะไรบ้างที่แสดงถึง

               ความส าเร็จ และความล้มเหลว (What was good and bad about experience) โดยการประเมินจาก

               เหตุการณ์ในทางที่ดีหรือไม่ดีเกี่ยวกับอุบัติการณ์ สถานการณ์ หรือประเด็นแนวคิดนั้น แล้วน าผลการประเมินที่
               ให้คุณค่า มาใช้ในการตัดสินใจ

                              3.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นการวิเคราะห์เหตุการณ์ในภาพรวม (What sense can
               you make of the situation) โดยการใช้ความรู้สึก ประสบการณ์เดิม ในวิเคราะห์สถานการณ์

                              3.5 การสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปความคิดรวบยอดว่า จะท าสิ่งใดที่สร้างความ

               แตกต่างจากเดิมได้บ้าง (What else could you have done) โดยใช้เหตุผลจากการวิเคราะห์ สิ่งที่ได้เรียนรู้
               ร่วมกับประสบการณ์เดิมในการสรุปผลการเรียนรู้

                              3.6 การวางแผนปฏิบัติ (Action plan) เป็นการวางแผนว่าจะท าสิ่งที่แตกต่างนั้นได้

               อย่างไร (If it arose again, what would you do) น าสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปวางแผนการปฏิบัติในสถานการณ์ใหม่
               เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาตนเอง ถ้าหากสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นอีก เราจะท าอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง มี

               ขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร

                              ดังนั้น ผู้สอนควรพัฒนาตนเองโดยการฝึกปฏิบัติการสะท้อนคิดทั้ง 6 ขั้นตอนอยู่เสมอ เพื่อ

               สร้างความเชี่ยวชาญที่จะสามารถน าไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม กระตุ้นและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้
               เกิดขึ้นกับผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับ ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ปัญหาให้กับผู้เรียนได้

               อย่างเหมาะสม

                              4. ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share) หมายถึง การที่ผู้สอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้

               เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดกับบุคคลอื่น ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ มี

               วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้
               การสะท้อนการจัดการเรียนรู้ (Reflective Teaching) คือ การคิดพิจารณาไตร่ตรองการจัดการเรียนรู้ของ

               ตนเองและบุคคลอื่น เพื่อน าไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                       การที่ผู้สอนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่อย่างสม่ าเสมอ จะท าให้เกิดการพัฒนาด้านความรู้และทักษะ

               และเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตในอนาคต
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16