Page 9 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 9
ศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง
ของพุทธศาสนาที่กล่าวว่า การคิดไตร่ตรองหรือการคิดทบทวนอย่างมีเหตุผล สามารถน ามาใช้เป็นวิธีการเรียน
การสอนได้เป็นอย่างดี โดยนักปรัชญาเรียกว่า วิธีแห่งปัญญา การสะท้อนคิดเป็นรูปแบบการคิดที่ช่วยให้บุคคล
เกิดการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการรับรู้ ความคาดหวัง ความรู้สึกตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์
แล้วมีการวางแผนหาแนวทางแก้ไขในอนาคต โดยผ่านกระบวนการพูดหรือเขียน การสะท้อนคิดจึงเป็นทักษะ
ที่จ าเป็นที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้ รวมทั้งมีการตัดสินใจเชิง
จริยธรรมที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่างๆได้ (อรพรรณ, 2553)
ดังนั้น การเรียนรู้แบบสะท้อนคิดจึงมีความส าคัญและจ าต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญาส าหรับผู้เรียน
ที่เน้นพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ นอกจากนี้ยังมีผลท าให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจตนเองมากขึ้น ส่งผล
ต่อการดูแลผู้รับบริการอย่างเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์และมีความเอื้ออาทร (Lauterbach & Becker,
1998) การน าวิธีการสะท้อนคิดมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จึงเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการเตรียม
บุคลากรด้านการสอน โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่มีการปฏิบัติเป็นฐาน (Practice - based
Instruction) ซึ่งจะท าให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการบริการกับการเรียนรู้ได้ (Service learning) เป็นการ
เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและเปิดโอกาสให้วิเคราะห์วิพากษ์ และประเมินสิ่งที่ปฏิบัติ รวมทั้งได้รับ
ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติครั้งต่อไป (Eyler, 2002)
สรุป การสะท้อนคิดมีความส าคัญต่อผู้เรียนในการพัฒนาทักษะทางปัญญาเพราะเป็นทักษะที่ช่วยให้
ผู้เรียนเกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถแก้ปัญหาและพัฒนางานด้วยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
โดยเฉพาะในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล และการสาธารณสุข ที่มุ่งเน้นพัฒนาทักษะ
กระบวนการคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อการ
ให้บริการสุขภาพที่เน้นผู้รับบริการเป็นส าคัญนอกจากนี้การสะท้อนคิดยังมีความส าคัญต่อผู้สอนจากการ
ประเมินผู้เรียน ท าให้เข้าใจผู้เรียนและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ผู้สอน
สามารถประเมินตนเองเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการสอนอย่างต่อเนื่อง เหมาะสมและ
มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
1. เพื่อให้ผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
2. เพื่อให้ผู้สอนมีแนวทางในการน าการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ได้
ขั้นตอนการเรียนรู้ผ่านคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
ขั้นตอนการเรียนรู้ประกอบการใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. การเรียนรู้ (Learn)
2. การสะท้อนการเรียนรู้ (Reflective learning)