Page 8 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 8

(Reflective Thinking) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะ

               ด้านการคิดและการแก้ปัญหา  ในการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่หยุดนิ่ง (Bulman & Schutz, 2013)
               โดยการสะท้อนคิดเป็นวิธีที่มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้จากทฤษฎี และความคิดรวบยอดของตนเองน าไปสู่การ

               ปฏิบัติทางการพยาบาลและการสาธารณสุขได้อย่างชัดเจนและเป็นวิธีการเรียนที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ขั้นสูง

               (พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, นิตยา ทยาภิรมย์, และพัชรี วรกิจพูนผล, 2551) การส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลและ
               นักศึกษาทางการสาธารณสุขเรียนรู้การสะท้อนคิดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะท าให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

               ได้อย่างมีประสิทธิภาพและท าให้สามารถน าข้อมูลทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ด้วยกันได้เป็น
               อย่างดี (Atkins & Murphy, 1993) ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาสามารถระบุปัญหาอธิบายและแก้ปัญหาในการ

               ปฏิบัติการพยาบาลและทางการสาธารณสุข สามารถแสดงเหตุผลได้อย่างรอบคอบมากขึ้นนอกจากนี้การใช้

               กระบวนการสะท้อนคิดยังเป็นพื้นฐานที่ส าคัญ ในการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลและทางการสาธารณสุข
               (Andrews, 1996) ก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ทางการพยาบาลและการสาธารณสุข ท าให้การดูแลผู้ป่วย

               ครอบคลุมแบบองค์รวมมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจทักษะการสะท้อนคิดควบคู่
               ไปกับแนวทางในการจัดการเรียนการสอน จึงเป็นสิ่งส าคัญเพื่อส่งเสริมสมรรถนะอาจารย์ในด้านการจัดการ

               เรียนการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางปัญญา

                       บทบาทของผู้สอนในการจัดศึกษาที่เหมาะสมส าหรับผู้เรียนยุคใหม่นั้น ผู้สอนจ าเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
               บทบาทอย่างยิ่ง โดยเป็นผู้สอนเพื่อศิษย์ ผู้สอนเพื่อศิษย์จะต้องเปลี่ยนจากการสอน ไปเป็นการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้น

               ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งผู้สอนและศิษย์ ต่างเรียนรู้และปรับปรุงพัฒนาบทบาทตนเอง ผู้สอนต้องเปลี่ยนจาก “ผู้สอน

               สอน” (teacher) ไปเป็น “ผู้สอนฝึก” (coach) หรือ “ผู้อ านวยความสะดวกในการเรียนรู้” (learning
               facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการท าหน้าที่นี้ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ

               และต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC (Professional Learning community) (วิจารณ์ พานิช, 2555) ผู้สอนในศตวรรษ
               ที่ 21 ต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” (Teach Less, Learn More) สอดคล้องกับการเรียนรู้ “ทักษะเพื่อ

               การด ารงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑” ( 21st Century Skills) ซึ่งผู้สอนไม่สามารถสอนได้ ผู้เรียนต้องเรียนรู้และ

               ปฏิบัติด้วยตนเอง ผู้สอนต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอ านวยความสะดวก (facilitate) ในการ
               เรียนรู้ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการลงมือท า ให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นภายในใจและสมองของตนเอง และใน

               การจัดการเรียนรู้นั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและผู้สอน ความรู้ ความสามารถเกิดจากการฝึกปฏิบัติ
               ผู้เรียนลงมือกระท า (Hands – on) และฝึกคิดด้วยตนเองเป็นส าคัญ (Brain on) โดยผู้สอนผู้สอนเป็นผู้อ านวย

               ความสะดวกในการเรียนรู้ มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ก าหนดไว้โดย

               จัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2554)
                       การเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติ (Reflective practice or reflection

               on practice) มีความส าคัญต่อการคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆซึ่ งจะช่วยให้เกิดทักษะ

               ในการแก้ปัญหาที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางรวมทั้งช่วยให้เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติได้ดีขึ้น (Davies,
               1995) เพราะการฝึกสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่น าไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนา
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13