Page 12 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 12
องค์ประกอบของเนื้อหา คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
เนื้อหาของคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
1. ความรู้พื้นฐานในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ประกอบด้วย ความส าคัญ
วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเรียนรู้ องค์ประกอบของเนื้อหา แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
แบบสะท้อนคิด และการพัฒนาการสะท้อนคิด
2. การเตรียมตัวผู้สอน ผู้เรียน และเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ
สะท้อนคิด ประกอบด้วย บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน การสะท้อนการจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผ่านคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด แบบฝึกหัดการพัฒนา
ทักษะการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด เทคนิคและทักษะการสะท้อนคิด
3. การด าเนินการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ประกอบด้วย ขั้นตอนการด าเนินการ ปัญหา
ที่พบบ่อยในการเขียนบันทึกสะท้อนคิดและแนวทางการแก้ปัญหา สิ่งที่ควรปฏิบัติ และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงใน
การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ประกอบด้วย ความส าคัญ จุดมุ่งหมาย
หลักการ วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือในการวัดและประเมินผลการสะท้อนคิด ตัวอย่างเครื่องมือและ
การน าไปใช้ในการวัดการสะท้อนคิด
ทั้งนี้ หากผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด และได้เตรียมความพร้อม
ของตนเอง รวมทั้งเตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพแล้ว เชื่อว่าจะส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้
ที่บรรลุเป้าหมายของผู้เรียนเช่นกัน
แนวคิด หลักการที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
ความหมายของการสะท้อนคิด (Reflective thinking)
ดิวอี้ (Dewey, 1933, p. 12) ได้เขียนเรื่อง “How We Think” โดยได้ให้ความหมายของการสะท้อน
คิดว่า “เป็นรูปแบบหนึ่งของการคิดพินิจ พิเคราะห์ ตรึกตรองใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง เริ่มจากความสงสัยใคร่รู้ใน
เรื่องที่เกี่ยวกับความคิด ความเชื่อหรือองค์ความรู้ที่ยึดถือกันอยู่ และใช้ความพยายามในการค้นหาค าตอบ โดย
อาศัยเหตุผลและข้อมูลอ้างอิง” โนเวลส์, โคล และเพรสวูด (Knowles; Cole & Presswood, 1994, p. 8-10)
กล่าวว่า “การสะท้อนคิดเป็นการใช้กระบวนการพินิจพิเคราะห์ ตั้งค าถามย้อนหลังกลับมายังสถานการณ์ที่
เป็นอยู่อย่างครอบคลุมทุกด้าน แยกให้เห็นปัญหาที่เป็นเหตุผลในการปฏิบัติในขณะนั้น ท าให้เกิดความเข้าใจ
อย่างถ่องแท้ และส่งผลต่อการแก้ปัญหาที่เหมาะสม”แยงซี (Yancey, 1998, p. 11) กล่าวว่าการสะท้อนคิด
หมายถึงการทบทวนในงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือการประเมินตนเอง หรือ เป็นการวิเคราะห์ การเรียนรู้ ที่เกิดขึ้น