Page 14 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 14
เชษฐา แก้วพรม (2556) กล่าวว่า การสะท้อนคิด คือ กระบวนการส าคัญที่ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
โดยมีขั้นตอนประกอบด้วย การคิดทบทวนประสบการณ์ การตรวจสอบความรู้สึกของตนเอง การประเมินผล
กระทบของเหตุการณ์ การค้นหาความรู้หรือทางเลือกเพิ่มเติม และการวางแผนด าเนินการ
เอกชัย วิเศษศรี (2557, หน้า 9) กล่าวว่า การสะท้อนคิด คือ กระบวนการที่บุคคลคิดพิจารณาเพื่อ
ทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเองและผู้อื่นแล้วน ามาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของตนและประมวล
ออกมาเป็นความรู้ใหม่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่อพบปัญหา หรือสถานการณ์เดิม
ชมพูนุท บุญอากาศ (2559, หน้า 37) กล่าวว่า การสะท้อนคิด คือ กระบวนการที่เกิดขึ้นจากการคิด
วิเคราะห์ด้วยเหตุผลและหลักการ เป็นการคิดระดับสูง เรียกว่า อภิปรัชญา ซึ่งเป็นการคิดเกี่ยวกับตนเอง
พร้อมทั้งเชื่อมโยงการน าประสบการณ์มาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดความคิดและมุมมองใหม่ๆที่สามารถเป็น
แนวทางในการตัดสินใจ ในการแก้ปัญหา หรือน ามาใช้พัฒนาปรับปรุงตนเองได้
จากที่กล่าวมาจะพบว่า การสะท้อนคิดเป็นกระบวนการภายในตัวบุคคลที่มีความซับซ้อน ถือเป็นการ
คิดระดับสูง ที่เรียกว่า อภิปรัชญา ซึ่งเป็นการคิดเกี่ยวกับการคิดของตนเอง รวมทั้งสิ่งส าคัญที่มีผลต่อความคิด
นั้น โดยการสะท้อนคิดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ตัวผู้เรียน ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องเรียนรู้
และวิธีการในการเรียนรู้
สรุป การสะท้อนคิด หมายถึง กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยน าประสบการณ์มาคิดทบทวน ไตร่ตรอง สร้างความรู้ ความเข้าใจใหม่ที่น าไปสู่การพัฒนาตนเองและการ
ปรับปรุง เช่น การปรับปรุงงาน และการแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนวคิดการสะท้อนคิด
Dewey (1933) นักปรัชญาประสบการณ์ นักจิตวิทยา และนักปฏิรูปการศึกษาชาวอเมริกัน ได้ให้
แนวคิดเกี่ยวกับการสะท้อนคิดไว้ว่า การสะท้อนคิด เป็นการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยความกระตือรือร้น
ตลอดเวลา บนความเชื่อที่สนับสนุนด้วยความรู้และข้อสรุปที่เกิดขึ้น เป้าหมายคือการเรียนรู้วิธีคิดเพื่อให้
สามารถจ าแนกแยกแยะด้วยความเชื่อที่มีพื้นฐานบนสถานการณ์ที่ได้เรียนรู้แนวคิดของ Dewey จัดอยู่ในกลุ่ม
นักปรัชญาประสบการณ์นิยม (Experimentalism) ซึ่งเขาเป็นผู้น า โดยมีความเชื่อว่าความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
ขึ้นอยู่กับ “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นส าคัญ หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา โดยเชื่อว่ามนุษย์
ย่อมมีปัญหาอยู่ตลอด ปัญหานั้นก็คือ การเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เป็นอยู่ทุกขณะ
นั่นเอง เมื่อมนุษย์ต้องพบปัญหาอยู่ตลอด การฝึกมนุษย์ให้แก้ปัญหาได้ จึงเป็นสิ่งจ าเป็นเพราะจะช่วยให้ขจัด
ปัญหาที่มาขัดขวางการด าเนินชีวิตได้ และชีวิตนั้นก็จะอยู่รอดตลอดไปเขาให้ความส าคัญกับ “ประสบการณ์”
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประสบการณ์ปฐมภูมิ (Primary experience) และ ประสบการณ์ทุติยภูมิ
(Secondary experience) ประสบการณ์ปฐมภูมิ คือ ประสบการณ์ที่ยังไม่เป็นความรู้ หรือยังไม่ได้มีการคิด
ไตร่ตรอง เป็นเพียงกระบวนการของการกระท า และการประสบความเปลี่ยนแปลงระหว่างอินทรีย์และ
สภาพแวดล้อม ส่วนประสบการณ์ทุติยภูมิ เป็นประสบการณ์ประเภทที่เป็นความรู้ คือได้ผ่านกระบวนการคิด