Page 19 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 19
สะท้อนคิด ท าให้ตระหนักในการฝึกสอนของตนเอง ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของการสอนสะท้อนคิด การเขียน
บันทึกยังรวมไปถึงการวาดภาพความคิด (Mapping Ideas) ในขณะที่ตนเองก าลังสอน บทบาทการท าหน้าที่
เป็นผู้สอน เนื้อหาที่ใช้สอน และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอนของตน
นอกจากนี้ มูน (Moon, 1999 : 188 – 194 ; อ้างถึงใน Bond, 2001 : 172) ได้น าเสนอจุดมุ่งหมาย
หรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบันทึกในบริบทของการเรียนการสอนไว้ดังนี้
1. เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของการเรียนเชิงลึก ในแง่มุมของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ
ทัศนคติต่อการเรียน
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
3. เพื่อการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว (Active Involvement) ในการ
เรียนรู้
4. เพื่อสร้างความเป็นมืออาชีพ ทางการเรียนของผู้เรียน (Professional Self in Practice)
5. เพื่อกระตุ้นการเห็นคุณค่าในตนเอง (Personal Valuing) ต่อการมีพลังอ านาจในตนเอง
(Self - empowerment)
6. เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยอาศัยสัญชาตญาณความเข้าใจของตนเอง
7. เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเขียนได้อย่างอิสระ (Free Writing) ต่อการเรียนรู้ของตนเอง
8. เพื่อให้ผู้สอนผู้สอนได้ทราบในบางแง่มุมที่อาจเป็นด้านมืดหรือด้านลบต่อการเรียนรู้ของ
ผู้เรียน
9. เพื่อเป็นการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับการสะท้อนคิดและความคิดสร้างสรรค์ภายใน
กลุ่ม (To Foster Reflective and Creative Interaction in a Group)
เบน และคณะ (Bain and et al. 1999: 51) กล่าวไว้ว่า การเขียนบันทึกแบบสะท้อนคิดนั้น
(Reflective journal writing) เป็นเทคนิควิธีการหนึ่งที่ได้มีการน ามาใช้อย่างมากในหลากหลายศาสตร์ เช่นใน
สาขาจิตวิทยา การให้ค าปรึกษา การพยาบาล การบริหารจัดการ สังคมวิทยา และในทางการสอน ซึ่งการเขียน
บันทึกแบบสะท้อนคิด จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและการสะท้อนคิดของตน ผ่านการ
เขียนบันทึกต่อเหตุการณ์หรือประสบการณ์ของตนอย่างใดอย่างหนึ่ง
สรุป การเขียนบันทึกสะท้อนคิด มีความส าคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียน ท าให้เกิดการ
ตระหนักรู้และเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง โดยผ่านการคิดทบทวนประสบการณ์ ด้วยการเขียน
บรรยาย บอกเล่าถึงความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ในแง่มุมต่างๆ ซึ่งท าให้ผู้สอนได้รับรู้ประสบการณ์ของผู้เรียน
ซึ่งบางอย่างไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในชั้นเรียน ท าให้ผู้สอนผู้สอนมีความเข้าใจและประเมินผู้เรียนได้จริงใน
ระดับสติปัญญา (Cognitive) สังคม (Social) และจิตใจ (Affective)