Page 13 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 13

ชอน (Schon, 1990; Schon, 1983 cited in Pedro, 2006) ได้น าแนวคิดของ Dewey มาใช้อธิบาย

               การท างานว่าการสะท้อนคิดในการท างานเป็นการแก้ปัญหาการท างาน โดยการวางแผนงานที่เชื่อมโยงกับ
               ปัญหาที่ซับซ้อน โดยการประชุมกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล

               ภายใต้ค าแนะน าของผู้ที่มีประสบการณ์

                       โบรีน และคณะ (Boreen, etal., 2000, sited in Pedro, 2006) ได้กล่าวว่า ผู้สอนที่มีการสะท้อนคิด
               ร่วมกัน จะช่วยพัฒนากระบวนการท างานให้มีประสิทธิภาพทั้งต่อตนเอง และต่อองค์กร โดยเฉพาะผู้สอนใหม่

               การสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้สอนใหม่เรียนรู้การท างานร่วมกับผู้อื่นในองค์กร ช่วยเหลือซึ่งกันและ
               กัน และร่วมพัฒนาองค์กรไปในทิศทางที่ต้องการ ต่อมาได้มีการน าการสะท้อนคิดมาใช้ในกระบวนการพัฒนา

               ความคิด และพัฒนาองค์กรในหลากหลายสาขาอาชีพเพื่อศักยภาพในการเรียนรู้ เช่น แพทย์ พยาบาล

               นักการเมือง ผู้จัดการ เป็นต้น (ล าพอง กลมกูล, 2554)
                       คอลเลน (Collen, 1996, p. 54) เสนอความคิดเห็นว่า “การสะท้อนคิดเป็นปฏิกิริยาของสมองที่

               สะท้อนสิ่งที่บุคคลนั้นค านึงถึงอย่างใคร่ครวญ ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อถ่ายโอนความรู้สึกต่างๆ ของตนเองก่อนที่จะ
               สื่อสารกับผู้อื่นด้วยการพูดหรือการเขียน”

                       จอห์น (Johns, 2000, p. 34) กล่าวว่า “การสะท้อนคิดเป็นกระบวนการคิดไตร่ตรองทบทวน

               (Reflective Thinking) พินิจพิเคราะห์และพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบโดยใช้สติและมีสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีการ
               ที่ท าให้บุคคลได้ทบทวนและสะท้อนการกระท าของตน (Reflective Practice) ช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิด

               การเรียนรู้จากประสบการณ์ น าไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงงาน”

                       คริสและซู(Chris & Sue, 2004, p.   4) กล่าวว่า การสะท้อนคิด (Reflective Learning) คือ
               กระบวนการตรวจสอบภายในและค้นหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของประสบการณ์ ซึ่งสร้าง

               และจ าแนกความหมายของสิ่งต่าง ๆ ออกมาให้ได้ข้อสรุปและเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดมุมมอง
               ใหม่

                       เชอร์วูด และ ดูยช์ท (Sherwood & Deutsch 2012, p. 17) กล่าวว่า การสะท้อน เป็นกระบวนการ

               คิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่เกิดจากการสั่งสมความรอบรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่สามารถใช้ประเมินส าหรับจิต
               พิสัย การสะท้อนคิดคือ การคิดอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการกระท าและการตอบสนองของเราที่สนับสนุนการ

               ปรับเปลี่ยนมุมมองวิธีคิดต่อสถานการณ์ หรือปัญหา ตลอดจนการพิจารณาการกระท าและการตอบสนองใน
               อนาคต  การสะท้อนคิดเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยพิจารณาว่า เรารู้ เราเชื่อ และให้คุณค่ากับบริบท

               โดยเฉพาะต่อเหตุการณ์ที่เราเผชิญในการท างาน  การสะท้อนคิดจึงสนับสนุนการท างานเพื่อตอบสนอง

               วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ และช่วยในการพัฒนาในด้านมิติทางจิตวิญญาณ เพื่อการจัดการชีวิต  การสะท้อนคิด
               ช่วยให้เรารับรู้สถานการณ์พัฒนาสมรรถนะด้านผู้น า ปรับปรุงการตอบสนองผ่านความฉลาดทางอารมณ์

               พัฒนาสติในการปฏิบัติงาน และปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้รับบริการ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18