Page 62 - Keattichai
P. 62

27

                                                              แผนการจัดการเรียนรู้

                                    รหัส  3105-2001   ชื่อวิชา  พัลส์เทคนิค             สัปดาห์ที่  7-9


                                    ชื่อหน่วย :  วงจรขริบและวงจรแคลมป ์                 จ านวน  9  ชั่วโมง
                    ชื่อเรื่อง :  วงจรขริบและวงจรแคลมป์                                 ชม.สอน  9  ชั่วโมง



                   1.  หัวข้อเรื่อง

                            1.1  วงจรขริบ

                            1.2  วงจรแคลมป์


                   2.  สาระส าคัญ

                          สัญญาณพัลส์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากวงจรต่าง ๆ ในบางกรณี รูปคลื่นที่เกิดขึ้นยังไม่อยู่ในเงื่อนไข

                   การใช้งานจึงต้องหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะท าให้รูปคลื่นที่เกิดขึ้นเป็นไปตามความต้องการ วิธีการหนึ่งใน

                   หลายวิธีคือ การใช้วงจรขริบ มีความหมายเหมือนกับการตัดรูปคลื่นบางส่วนออกไป เช่นตัดรูปคลื่น

                   ด้านบนเป็นการขริบด้านบวก ตัดรูปคลื่นด้านลบเป็นการขริบด้านลบของสัญญาณ เป็นต้น การขริบ

                   เบื้องต้นนิยมใช้ไดโอดมาต่อกับสัญญาณอินพุตในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น อนุกรม ขนาน เมื่อกลับขั้ว

                   ไดโอดเป็น 2 เงื่อนไข จะกลายเป็น 4 ลักษณะ แต่การต่อขนานต้องมีตัวต้านทานอนุกรมกับแหล่งก าเนิด

                   สัญญาณ เพื่อไม่ให้ไดโอดช ารุด นอกจากนั้นสามารถเพิ่มเงื่อนไขในการขริบให้มากขึ้น นิยมใช้แบตเตอรี่

                   ศักย์บวกหรือศักย์ลบต่อร่วมกับไดโอด เพื่อยกระดับรูปคลื่นเอาต์พุตให้สูงขึ้นหรือลดระดับรูปคลื่นให้

                   เอาต์พุตต ่าลง  ต่อมาจะนิยมใช้ซีเนอร์ไดโอดแทนเพื่อความสะดวกต่อการออกแบบวงจรใช้งาน

                        วงจรแคลมป์    คือวงจรที่มีการเลื่อนระดับสัญญาณรูปคลื่นให้มีค่าสูงขึ้นหรือต ่าลง  จากระดับ

                   แรงดันศูนย์โวลต์ เนื่องจากรูปคลื่นจากเครื่องก าเนิดสัญญาณจะมีรูปแบบเป็นมาตรฐานทั่วไป คือ เน้นการ

                   มีความสมดุลทั้งทางด้านบวกและทางด้านลบ แต่เงื่อนไขการประยุกต์ใช้งานมีหลากหลาย จึงจะต้องอาศัย

                   วงจรแคลมป์  เพื่อยกหรือลดระดับของสัญญาณให้ได้รูปคลื่นที่มีค่าแรงดันด้านบวกและค่าด้านลบเกิดการ

                   ยกตัวขึ้นหรือเลื่อนตัวลงจากระดับศูนย์โวลต์ ตามความต้องการได้

                        ลักษณะวงจรแคลมป์  จะอาศัยตัวเก็บประจุเป็นตัวส่งผ่านสัญญาณเป็นล าดับแรก และต้องต่อตัว

                   ต้านทานขนานไดโอด ซึ่งจะอนุกรมกับแบตเตอรี่หรือไม่นั้น ขึ้นกับจุดประสงค์ความต้องการของรูปคลื่น

                   ที่จะให้เกิดขึ้น วงจรแคลมป์ ด้านบวกจะต่อไอโอดในลักษณะไบแอสย้อนกลับ ให้ท าหน้าที่ยกระดับ

                   สัญญาณสูงขึ้นทางด้านบวก วงจรแคลมป์ ด้านลบจะต่อไดโอดในลักษณะไบแอสไปหน้าจะท าให้ระดับ

                   สัญญาณเลื่อนลงทางด้านลบ การต่อแบตเตอรี่อนุกรมกับไดโอด จะท าให้ขีดความสามารถในการ

                   ยกระดับแรงดันเพิ่มมากขึ้น ตามค่าแรงดันของแบตเตอรี่ ทั้งนี้จะขึ้นกับทิศทางของขั้วแบตเตอรี่ที่ต่อ

                   อนุกรมกับไดโอดด้วย
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67