Page 78 - Keattichai
P. 78
55
แผนการจัดการเรียนรู้
รหัส 3105-2002 ชื่อวิชา พัลส์เทคนิค สัปดาห์ที่ 17-18
ชื่อหน่วย : วงจรสร้างสัญญาณไทม์เบสและการซิงโครไนซ์ จ านวน 6 ชั่วโมง
ชื่อเรื่อง : วงจรสร้างสัญญาณไทม์เบสและการซิงโครไนซ์ ชม.สอน 6 ชั่วโมง
1. หัวข้อเรื่อง
วงจรสร้างสัญญาณไทม์เบสและการซิงค์โครไนซ์
2. สาระส าคัญ
จุดประสงค์ของการซิงโครไนซ์ เกิดจากวงจรออสซิลเลเตอร์ที่สร้างขึ้น มีเสถียรภาพค่อนข้าง
ต ่าและไม่สะดวกต่อการปรับค่าความถี่ เมื่อต้องการให้ความถี่จากวงจรที่สร้างขึ้น มีเสถียรภาพ จะอาศัย
วงจรไทม์เบสที่มีเสถียรภาพมากกว่าและปรับความถี่ได้ง่ายกว่า น ามาซิงโครไนซ์ ผ่านวงจรแคลมป์ เพื่อ
สร้างพัลส์บวกหรือพัลส์ลบที่มียอดแหลม ไปกระตุ้นให้วงจรออสซิลเลเตอร์เดิมเปลี่ยนค่าความถี่ตาม
สัญญาณไทม์เบส เมื่อความถี่ของสัญญาณไทม์เบสมีค่าใกล้เคียงกับความถี่ของวงจรออสซิลเลเตอร์เดิม
แสดงว่าเกิดการซิงโครไนซ์ การเกิดการซิงโครไนซ์จะมีค่าอยู่ในช่วงของความถี่ที่สามารถท างานได้ หา
โดยการปรับความถี่ของไทม์เบสหาค่าต ่าสุดและสูงสุดที่สามารถเกิดการซิงโครไนซ์ได้ แต่ควรที่จะ
เลือกใช้งานให้สูงกว่าความถี่ต ่า สุดเล็กน้อย และต ่ากว่าความถี่สูงสุดเล็กน้อย
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรสร้างสัญญาณไทม์เบสและการซิงโครไนซ์สามารถ
วิเคราะห์และออกแบบวงจรสร้างสัญญาณไทม์เบสและการซิงโครไนซ์ มีกิจนิสัยในการท างานรอบคอบ
และท างานอย่างเป็นระบบ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เพื่อให้สามารถอธิบายการท างานของวงจรสร้างสัญญาณไทม์เบส วงจรซิงโครไนซ์และ
วงจรออสซิลเลเตอร์ได้
2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลการซิงโครไนซ์จากวงจรไทม์เบสกับวงจรออสซิลเลเตอร์ได้
ถูกต้อง
3. เพื่อออกแบบวงจรจุดชนวนให้สามารถเกิดการซิงโครไนซ์ระหว่างวงจรไทม์เบสและ
วงจรออสซิลเลเตอร์ได้