Page 45 - BBLP ejournal2018.docx
P. 45

Journal of Biotechnology in Livestock Production



                                                          ค าน า

                     ปัจจุบันการผสมเทียมได้เข้ามามีบทบาทส าคัญในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โคนม ส่งผลให้
              เกษตรกรสามารถน าพันธุกรรมที่ดีเด่นของโคนมพันธุ์ต่างๆ เช่น เรดเดน (Red Dane) บราวน์สวิส (Brown
              Swiss) เจอร์ซี่ (Jersey) โดยเฉพาะโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian) จากแหล่งพันธุกรรม

              ต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ในการผสมพันธุ์กับโคนมเพศเมีย

              ภายในฟาร์ม เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตน ้านมของโคนมภายในฟาร์ม พบว่า ความสามารถในการให้ผลผลิต
              น ้านมของลูกสาวที่เกิดจากพ่อพันธุ์จากแหล่งพันธุกรรมต่างๆ มีความแตกต่างกัน (ศกร และคณะ, 2540)
              และเมื่อพิจารณาค่าความสามารถทางพันธุกรรมของพ่อพันธุ์เป็นรายตัวพบว่า พ่อพันธุ์โคนมจาก

              ต่างประเทศมีทั้งที่มีความสามารถทางพันธุกรรมดีกว่า และด้อยกว่าพ่อพันธุ์โคนมในประเทศไทย

              (Koonawootrittriron, 2003) ลักษณะดังกล่าวชี้ให้เห็นถึง ความสามารถในการปรับตัวของพ่อพันธุ์โคนม
              จากแต่ละแหล่งพันธุกรรมให้เข้ากับความแตกต่างด้านสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ (กรมอุตุนิยมวิทยา,
              2550) ปริมาณและคุณภาพของพืชอาหารสัตว์ รวมถึงวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (เทพณรงค์ และคณะ,

              2552) และรูปแบบการจัดการเลี้ยงดูของเกษตรกรที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การแสดงออกทางพันธุกรรมที่

              น่าพอใจในรูปแบบการเลี้ยงการจัดการหนึ่ง อาจให้แสดงออกในทิศทางที่ต่างกันออกไปในอีกรูปแบบการ
              เลี้ยงการจัดการหนึ่ง (เกิดอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม; Lin and Togashi., 2002;
              Hammami et al., 2008)

                     ทั้งนี้เนื่องจาก ภาคตะวันตกของประเทศไทยจัดเป็นแหล่งพันธุกรรมโคนมที่มีขนาดใหญ่ของ

              ประเทศ โดยมีปริมาณแม่โครีดนมสูงถึง 84,363 ตัว คิดเป็น 29.46 % ของปริมาณแม่โครีดนมทั้งประเทศ
              (กรมปศุสัตว์, 2558) และมีลักษณะภูมิประเทศที่ความหลากหลาย กล่าวคือ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มอยู่ทาง
              ตอนบนของภูมิภาค ขณะที่ทางตอนล่างจะมีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล และมีแนวเทือกเขาอยู่ทางด้าน

              ตะวันตกของภูมิภาค มีภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขา

              สูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน จึงส่งผลให้รูปแบบการจัดการเลี้ยงดูของเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพ
              ภูมิประเทศ ชนิด ปริมาณ และคุณภาพของพืชอาหารสัตว์ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ลักษณะดังกล่าว
              จึงอาจส่งผลให้การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมของพ่อพันธุ์โคนมตัวใดตัวหนึ่งผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์โคนมที่มี

              คุณสมบัติเหมือนกัน แต่ถูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจึงอาจให้ผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น

              การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมต่อ
              ส าหรับลักษณะการให้ผลผลิตน ้านมของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนในภาคตะวันตกของประเทศไทย


                                                อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

                     ข้อมูลลักษณะการให้ผลผลิตน ้านมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลปริมาณผลผลิตน ้านมรวมที่
              305 วัน ที่ผ่านการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พันธุประวัติ วันเกิด ระดับ

              สายเลือด พ่อพันธุ์ วันคลอด และความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มพันธุกรรมที่ใช้ในการเปรียบเทียบของโคนม
              ลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน จ านวน 3,110 ตัว ที่คลอดลูกและให้ผลผลิตระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง 2559 ที่

              ได้รับการเลี้ยงดูในฟาร์มเกษตรกรจ านวน 428 ราย ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี, กาญจนบุรี, นครปฐม, เพชรบุรี
              และประจวบคีรีขันธ์ (Table 1) ที่รวบรวมไว้ในระบบฐานข้อมูลของส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์

                                                           35
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50