Page 50 - BBLP ejournal2018.docx
P. 50

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                       ส าหรับการประมาณค่าอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมสามารถพิจารณาจากค่า
              สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มการจัดการที่แตกต่างกัน (ลักษณะภูมิประเทศ และรูปแบบการจัดการ

              เลี้ยงดู) โดยเมื่อพิจารณาค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมส าหรับลักษณะ M305 ของโคนมระหว่างกลุ่มการ
              จัดการที่แตกต่างกัน (Table 3) พบว่า โคนมในพื้นที่ราบลุ่มมีค่าสหสัมพันธ์เชิงบวกกับพื้นที่ราบเชิงเขา

              (0.81 ± 0.37) และมีค่าสหสัมพันธ์เชิงลบกับพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล (- 0.99 ± 0.00) ขณะที่โคนมในพื้นที่ราบ
              เชิงเขามีค่าสหสัมพันธ์เชิงบวกพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล (0.99 ± 0.00) ส าหรับรูปแบบการจัดการเลี้ยงดู พบว่า

              โคนมที่เลี้ยงแบบปล่อยมีค่าสหสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการเลี้ยงแบบผูกยืนโรง (0.19 ± 0.38) โดยค่า
              สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่มีค่าต ่า (0.85) ชี้ให้เห็นถึง การเกิดอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม

              ขึ้นระหว่างกลุ่มการจัดการที่แตกต่างกัน (Lin and Togashi. 2002)
                     แม้ว่า โคนมในพื้นที่ราบลุ่มกับพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลจึงมีค่าสูง (- 0.99 ± 0.00) ซึ่งชี้ให้เห็นถึง

              ความสัมพันธ์กันมากของค่าความสามารถทางพันธุกรรมของโคนมในทั้งสองพื้นที่ แต่มีทิศทางตรงกันข้าม
              กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของค่าความสามารถทางพันธุกรรมของโคนมในทั้งสองพื้นที่มีทิศทางตรงกันข้าม

              กัน เมื่อพ่อพันธุ์โคนมที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ราบลุ่มถูกน าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล จึงถือว่ามี
              การเกิดขึ้นของอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการศึกษาที่ผ่านมาใน

              ประชากรโคนมลูกผสมพันธุ์โฮลสไตน์ในประเทศไทย (สมศักดิ์ และคณะ, 2553; Chanvijit, 2006;
              Yodklaew et al., 2013) ที่พบว่า เกิดอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมในประชากรโคนมที่

              ได้รับการเลี้ยงดูในภูมิภาคที่แตกต่างกันของประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความแตกต่างของลักษณะ
              ภูมิประเทศ และภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ของภาคตะวันตกของประเทศไทย (Stanton et al., 1991)

              สอดคล้องกับรายงานการศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ส าหรับผลผลิตน ้านมของพ่อ
              พันธุ์โคนมพันธุ์โฮลสไตน์ที่ใช้ประโยชน์ในประเทศลักเซมเบิร์กและตูนีเซีย ที่พบว่า ความแตกต่างด้าน

              สภาพภูมิอากาศ ปริมาณและคุณภาพของอาหารสัตว์ ส่งผลเกิดอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและ
              สิ่งแวดล้อมของพ่อพันธุ์โคนมพันธุ์โฮลสไตน์ที่ใช้ประโยชน์ในประเทศลักเซมเบิร์ก และตูนีเซีย (Hammami

              et al., 2008)

              Table 3 Genetic correlation (r g) and Spearman’s rank-order correlation coefficient (r s) for M305
                       among the clusters of topography and farm management in western part of Thailand

                                                   Topography                    Farm management
                                      FP-PM           FP-CP          PM-CP            FS-TS

                           r g         0.81           - 0.99          0.99             0.19
                                      (0.37)          (0.00)         (0.00)           (0.38)
                           r s         0.65           - 0.64         - 0.12            0.22
                                     (p < 0.01)     (p < 0.01)      (p = 0.44)       (p = 0.05)

                       อิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่พบในประชากรโคนมภาคตะวันตกของประเทศ

              ไทย ชี้ให้เห็นถึงระดับการแสดงออกของค่าความสามารถทางพันธุกรรมส าหรับ M305 ของพ่อพันธุ์โคนมที่
              เปลี่ยนแปลงไปเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพแวดล้อมหนึ่งไปสู่อีกสภาพแวดล้อมหนึ่ง


                                                           40
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55