Page 49 - BBLP ejournal2018.docx
P. 49
Journal of Biotechnology in Livestock Production
Table 2 Genetic variance (Var sire), contemporary group variance (Var cg), residual variance (Var res)
and heritability (h ) for M305 in the clusters of topography and farm management in
2
western part of Thailand
Topography Farm management
FP PM CP FS TS
38,560.50 21,949.25 782.94 50,7000.00 163,200.00
Var sire
(6,344.66) (9,664.03) (0.00) (23,660.00) (72,750.00)
304,194.00 714,772.50 621,763.00 337,985.00 577,416.00
Var cg
(26,590.29) (79,022.81) (96,472.02) (25,073.07) (55,897.00)
447,677.50 362,760.50 410,332.00 219,948.00 580,627.00
Var res
(17,272.22) (27,217.95) (42,676.22) (10,225.38) (28,901.29)
0.195 0.080 0.003 0.090 0.136
h 2
(0.034) (0.038) (0.001) (0.041) (0.060)
อย่างไรก็ตาม ค่าอัตราพันธุกรรมส าหรับ M305 ของโคนมในพื้นที่ราบลุ่ม และโคนมที่ได้รับการ
จัดการเลี้ยงดูแบบผูกยืนโรง มีค่าอยู่ในช่วงของค่าอัตราพันธุกรรมที่ถูกรายงานไว้ในประชากรโคนมอื่นๆ
(0.01 ถึง 0.40; ทวี และสมเพชร, 2544; อามีนา และศกร, 2551; Kadarmideen et al., 2003; Perez-Cabal
et al., 2006) ทั้งนี้การที่สัดส่วนความผันแปรทางพันธุกรรมต่อความผันแปรของลักษณะปรากฏของโคนม
ในพื้นที่ราบเชิงเขา และพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล รวมถึงกลุ่มการจัดการเลี้ยงดูแบบปล่อยมีค่าน้อยมาก อาจ
เป็นผลมาจากความคล้ายคลึงกันของค่าความสามารถทางพันธุกรรมของพ่อพันธุ์โคนมที่ได้รับการคัดเลือก
และน ามาใช้ประโยชน์โดยเกษตรกร เนื่องจากในการพิจารณาเลือกใช้น ้าเชื้อแช่แข็งของพ่อพันธุ์โคนมของ
เกษตรกร จะมุ่งเน้นด้านปริมาณผลผลิตน ้านมเป็นหลักจึงส่งผลให้ความผันแปรทางพันธุกรรมของพ่อพันธุ์
โคนมในพื้นที่ราบเชิงเขา พื้นที่ราบชายฝั่งทะเล และกลุ่มการจัดการเลี้ยงดูแบบปล่อยมีค่าต ่า (Table 2)
เมื่อพิจารณาค่าความสามารถทางพันธุกรรมส าหรับ M305 ของพ่อพันธุ์โคนมที่ถูกใช้ประโยชน์ใน
แต่ละพื้นที่ และกลุ่มการจัดการของภาคตะวันตก พบว่า ไม่มีพ่อพันธุ์โคนมตัวใดที่มีค่าความสามารถทาง
พันธุกรรมส าหรับ M305 ที่ดีเด่นกว่าพ่อพันธุ์ตัวอื่นๆ ในทุกพื้นที่ และทุกกลุ่มรูปแบบการจัดการเลี้ยงดูของ
ภาคตะวันตก (Figure 1) โดยพ่อพันธุ์ที่มีค่าความสามารถทางพันธุกรรมที่ดีเด่นในพื้นที่หนึ่ง อาจมีค่า
ความสามารถทางพันธุกรรมด้อยกว่าพ่อพันธุ์ตัวอื่นเมื่อถูกน าไปใช้ประโยชน์ในอีกพื้นที่หนึ่ง สอดคล้องกับ
การศึกษาของ Yodkaew et al. (2013) และ สมศักดิ์ (2557) ที่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับค่า
ความสามารถทางพันธุกรรมของพ่อพันธุ์โคนมที่น ามาใช้ประโยชน์ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ดังนั้น
ในการเลือกใช้ประโยชน์จากพ่อพันธุ์โคนมส าหรับการปรับปรุงพันธุกรรมโคนมภายในฟาร์ม เกษตรกรควร
ให้ความส าคัญในการพิจารณาข้อมูลพันธุกรรม (EBV) ของพ่อพันธุ์โคนม โดยควรพิจารณาคัดเลือกพ่อ
พันธุ์โคนมที่มีค่าความสามารถทางพันธุกรรมดีเด่นที่จ าเพาะกับพื้นที่ และรูปแบบการจัดการเลี้ยงดูที่
น าไปใช้ประโยชน์ เพื่อใช้ได้โคนมทดแทนที่มีลักษณะตรงตามความต้องการ และช่วยลดความเสี่ยงจากการ
คัดเลือกพันธุ์ที่ผิดพลาด
39