Page 51 - BBLP ejournal2018.docx
P. 51

Journal of Biotechnology in Livestock Production



              ลักษณะดังกล่าวเป็นผลเนื่องมาจาก ระดับการแสดงออกของยีนที่มีความแตกต่างกันเมื่ออยู่ใน
              สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน (Rutherford and Linquist, 1998) หรือเกิดจากการแสดงออกของยีนที่ควบคุม

              ในต าแหน่งที่แตกต่างกัน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน (Falconer and Mackey, 1996) ส่งผลให้
              พันธุกรรมของโคนมที่แสดงออกมาได้อย่างเป็นที่น่าพอใจในภูมิภาคหนึ่ง อาจแสดงออกมาได้แตกต่างกัน

              ในอีกภูมิภาคหนึ่งที่แตกต่างกันออกไป
                       การพิจารณารูปแบบของอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประชากรโคนม

              ภาคตะวันตกของประเทศไทย สามารถท าได้โดยพิจารณาจากค่าค่าสหสัมพันธ์ระหว่างล าดับของ สเปียร์
              แมน (Table 3) ร่วมกับกราฟค่าความสามารถทางพันธุกรรมส าหรับ M305 ของพ่อพันธุ์โคนมที่ถูกใช้

              ประโยชน์ในเขตพื้นที่ และรูปแบบการจัดการเลี้ยงดูของภาคตะวันตก (Figure 1) พบว่า ค่าสหสัมพันธ์
              ระหว่างล าดับของสเปียร์แมนของล าดับพ่อพันธุ์โคนมส าหรับ M305 ที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ราบลุ่มกับพื้นที่

              ราบเชิงเขา และพื้นที่ราบลุ่มกับพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล รวมถึงล าดับพ่อพันธุ์โคนมส าหรับ M305 ที่ใช้
              ประโยชน์ในฟาร์มที่เลี้ยงแบบปล่อยกับฟาร์มที่เลี้ยงแบบผูกยืนโรง มีค่าต ่ากว่า 0.70 (Cienfuegos-Rivas et

              al., 1999) ชี้ให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมแบบเกิดการ
              เปลี่ยนแปลงล าดับของพ่อพันธุ์โคนม (re-ranking effect) ในประชากรโคนมภาคตะวันตกของประเทศไทย

              สอดคล้องกับการรายงานของ Yodklaew et al. (2013) ที่พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงล าดับของพ่อพันธุ์โคนม
              ไปเมื่อถูกน าไปใช้ประโยชน์ในภูมิภาคที่แตกต่างกัน

                       ทั้งนี้เมื่อพิจารณากราฟค่าความสามารถทางพันธุกรรมส าหรับ M305 (Figure 1) พบว่า มีการ
              เปลี่ยนแปลงของค่าความสามารถทางพันธุกรรม และล าดับของพ่อพันธุ์โคนมที่ถูกใช้ประโยชน์ในแต่ละ

              พื้นที่ และรูปแบบการจัดการเลี้ยงดูของเกษตรกรของภาคตะวันตก (Figure 2) และเมื่อพิจารณาเฉพาะพ่อ
              พันธุ์ที่อยู่ใน 20 อันดับแรก ในพื้นที่ราบลุ่ม พบว่า มีพ่อพันธุ์จ านวน 14 ตัว และ 5 ตัว ที่อยู่ในล าดับพ่อพันธุ์

              20 อันดับแรก ของพื้นที่ราบเชิงเขา และพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล ส าหรับรูปแบบการจัดการเลี้ยงดูของ
              เกษตรกร พบว่า พ่อพันธุ์ที่อยู่ใน 20 อันดับแรก ในกลุ่มฟาร์มที่เลี้ยงแบบปล่อย จ านวน 9 ตัว อยู่ในล าดับ

              พ่อพันธุ์ 20 อันดับแรก ของกลุ่มฟาร์มที่เลี้ยงแบบยืนโรง ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงล าดับของพ่อพันธุ์ ชี้ให้เห็น
              ถึงอิทธิพลของพ่อพันธุ์ที่มีต่อการให้ผลผลิตน ้านมของลูกสาวในแต่ละพื้นที่ และรูปแบบการจัดการเลี้ยงดูที่

              แตกต่างกันของเกษตรกรของภาคตะวันตก สอดคล้องกับรายงานของ Chanvijit (2006) และ Yodklaew et
              al. (2013) ที่พบการเปลี่ยนแปลงของล าดับ และระดับการแสดงออกค่าความสามารถทางพันธุกรรมใน

              ประชากรโคนมที่ถูกเลี้ยงดูในภูมิภาคที่แตกต่างกันของประเทศไทย ดังนั้นการคัดเลือกพ่อพันธุ์โคนมที่มี
              ความสามารถทางพันธุกรรมส าหรับ M305 ที่จ าเพาะต่อเขตพื้นที่ และรูปแบบการจัดการเลี้ยงดูของ

              เกษตรกรจึงเป็นสิ่งที่จ าเป็น เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากจากพันธุกรรมโคนมเพื่อการผลิต
              น ้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และช่วยลดการสูญเสียโอกาสของเกษตรกรอันเป็นผลเนื่องมาจากการ

              คัดเลือกโคนมพ่อพันธุ์ที่ผิดพลาด ดังนั้นการประเมินค่าความสามารถทางพันธุกรรมของพ่อพันธุ์โคนม
              ส าหรับแต่ละภูมิภาคจึงเป็นสิ่งที่จ าเป็น และสมควรได้รับการพิจารณาด าเนินการเพิ่มเติมจากเดิมที่ประเมิน

              ค่าความสามารถทางพันธุกรรมของพ่อพันธุ์โคนมในภาพรวมประเทศ เนื่องจากอิทธิพลร่วมระหว่าง
              พันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมส่งผลให้ความแม่นย า (accuracy of selection) และความเข้มข้นในการคัดเลือก




                                                           41
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56