Page 134 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 134

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๑๐๖


                                                             มรดก

                         โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจ าเลยซึ่งต่างเป็นบุตรของเจ้ามรดก  โดยฟ้องเมื่อพ้น ๑ ปี

                  นับแต่เจ้ามรดกตาย   อ้างว่าครอบครองมรดกร่วมกับจ าเลย   จ าเลยให้การว่า   เจ้ามรดกท าพินัยกรรม

                  ยกมรดกให้จ าเลยคนเดียว  จ าเลยครอบครองมรดกฝ่ายเดียว     คดีโจทก์ขาดอายุความ  วันชี้สองสถาน

                  จ าเลยรับว่าเจ้ามรดกไม่ได้ท าพินัยกรรม

                  ประเด็นข้อพิพาท   คดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่

                  หน้าที่น าสืบ   ให้โจทก์เป็นฝ่ายน าสืบก่อน


                  เหตุผล   โจทก์และจ าเลยต่างเป็นทายาทโดยเป็นบุตรของเจ้ามรดก  จ าเลยต่อสู้ว่าเจ้ามรดกท า

                  พินัยกรรมยกมรดกให้จ าเลยคนเดียว แต่ในวันชี้สองสถานจ าเลยรับว่าเจ้ามรดกไม่ได้ท า

                  พินัยกรรม  จึงไม่ต้องก าหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท  คงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าคดี

                  โจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่  ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อพ้น ๑ ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย

                  ถ้าหากโจทก์มิได้ครอบครองทรัพย์มรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๔๘ คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ

                  ตามมาตรา ๑๗๕๔ ดังที่จ าเลยให้การต่อสู้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ครอบครองมรดกร่วมกับ

                  จ าเลย  จ าเลยปฏิเสธ  ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่น าสืบก่อน (ฎีกาที่ ๑๔๕๓/

                  ๒๔๘๒, ๘๒๖/๒๔๘๔,  ๑๗๗๕/๒๔๙๓)


                                                        คดีร้องขัดทรัพย์

                         ผู้ร้องยื่นค าร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดอ้างว่าเป็นของผู้ร้อง โจทก์ให้การว่าทรัพย์ที่ยึด

                  เป็นของจ าเลย

                  ประเด็นข้อพิพาท   ทรัพย์ที่ยึดเป็นของผู้ร้องหรือไม่

                  หน้าที่น าสืบ   ให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายน าสืบก่อน

                  เหตุผล   ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๘๘  บุคคลใดกล่าวอ้างว่าจ าเลยหรือลูกหนี้ตามค าพิพากษาไม่ใช่

                  เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้  บุคคลนั้นอาจยื่นค าร้องขอต่อศาลที่ออกหมาย

                  บังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ค าร้องขอดังกล่าวจึงเป็นเสมือนค าฟ้องที่โจทก์เสนอข้อหา

                  ต่อศาล ตาม ป.วิ.พ.  มาตรา ๑ (๓) ดังนั้น  ผู้ร้องจึงมีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์มีฐานะเสมือน

                  เป็นจ าเลย  เมื่อผู้ร้องกล่าวอ้างว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของตน แต่โจทก์ยืนยันว่าเป็นของจ าเลยซึ่งเป็น

                  ลูกหนี้ตามค าพิพากษา  เมื่อไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมายเป็นคุณแก่ผู้ร้อง ภาระการพิสูจน์

                  ย่อมตกแก่ผู้ร้องที่จะต้องน าสืบให้สมข้อกล่าวอ้างนั้น  ผู้ร้องจึงมีหน้าที่น าสื บก่อน


                   (ฎีกาที่ ๗๐๕/๒๔๙๗, ๖๐๙/ ๒๕๐๒, ๕๔๐/๒๕๒๖)
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139