Page 204 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 204
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๗๖
เมื่อยื่นบันทึกถ้อยค าไว้แล้วตามมาตรา ๑๒๐/๓ วรรคสอง ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมบันทึก
ถ้อยค า เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย และผู้ขอไม่อาจขอถอนบันทึก
ถ้อยค าได้ (มาตรา ๑๒๐/๑ วรรคสอง)
๓.๓ เมื่อคู่ความยื่นค าร้องร่วมกันขออนุญาตเสนอบันทึกถ้อยค าของพยานซึ่งอยู่
ต่างประเทศต่อศาลแทนการน าพยานมาเบิกความ หากศาลเห็นสมควร อาจอนุญาตโดยให้เจ้า
พนักงานที่มีอ านาจในประเทศนั้นหรือโนตารีปับลิกรับรองการลงลายมือชื่อของพยาน ทั้งนี้
ผู้ให้ถ้อยค าซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศนั้นจะมาศาลเพื่อให้การเพิ่มเติมได้ (มาตรา ๑๒๐/๒
ประกอบมาตรา ๔๗ วรรคสาม)
๓.๔ กรณีพยานให้ถ้อยค าประกอบเอกสาร ควรให้ผู้ขอส่งพยานเอกสารดังกล่าวเพื่อให้
ศาลหมายเอกสารก่อน เพื่อความสะดวกในการให้ถ้อยค าและสืบพยานต่อไป
๓.๕ ศาลไม่ต้องอ่านบันทึกถ้อยค าให้พยานฟัง แต่หากพยานเบิกความตอบค าซักถาม
เพิ่มเติม ค าถามค้าน และค าถามติง ก็ให้อ่านเฉพาะในส่วนค าเบิกความดังกล่าวให้พยานฟัง
(มาตรา ๑๒๑)
๔. การสืบพยานบุคคลโดยระบบการประชุมทางจอภาพ
กรณีที่พยานบุคคลไม่สามารถเดินทางมาศาลที่มีเขตอ านาจพิจารณาคดี หรือไม่สะดวก
อย่างยิ่งที่จะมาเบิกความในศาลนั้น การสืบพยานบุคคลโดยระบบการประชุมทางจอภาพเป็น
การน าเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เพื่อให้องค์คณะผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี
สามารถด าเนินการสืบพยานได้ โดยไม่จ าเป็นต้องส่งประเด็นไปให้ศาลอื่นสืบพยานให้ อันจะ
เป็นประโยชน์ส าหรับการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จากการได้สังเกตอากัปกิริยา
และการรับฟังถ้อยค าของพยานด้วยตนเอง
๔.๑ หลักเกณฑ์การขอสืบพยานบุคคลโดยระบบการประชุมทางจอภาพ
ศาลจะอนุญาตให้ท าการสืบพยานบุคคลโดยระบบการประชุมทางจอภาพตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๑๒๐/๔ ประกอบด้วยข้อก าหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยแนวทางการน าสืบ
พยานหลักฐานและการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๖ (ต่อไปในหัวข้อนี้จะเรียกโดยย่อว่า ข้อก าหนดฯ) ข้อ ๗ ได้ เมื่อเป็นไปตาม
หลักเกณฑ์ ดังนี้