Page 278 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 278
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒๕๐
“โจทก์ฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่งว่า . . .”
“โจทก์ฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าขึ้นศาลจ านวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ว่า . . .”
กรณีมีการรวมพิจารณาพิพากษาคดีหลายส านวน การย่อค าฟ้อง ถ้าย่อ
รวมกันได้ก็ให้ย่อรวมกัน ถ้าย่อรวมกันไม่ได้ให้คงใช้ตามรูปแบบเดิม หากในส านวนคดีหลัง
จ าเลยในคดีแรกเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีแรก ไม่ต้องแก้ส านวนคดีหลังเป็นจ าเลยฟ้องว่า
คงใช้ตามรูปแบบเดิม แต่เมื่อจบค าฟ้องค าให้การทุกส านวนแล้ว จึงใส่ข้อความหรือค าสั่งที่ให้
รวมการพิจารณาและเรียกโจทก์จ าเลยว่าอย่างไรตามรายงานกระบวนพิจารณาในวันที่มีค าสั่ง
คดีสาขา หากไม่ใช่โจทก์หรือจ าเลยให้ใช้ว่า “ผู้ร้อง ผู้ร้องขัดทรัพย์ ผู้ซื้อทรัพย์
หรือผู้คัดค้าน ฯลฯ” แล้วแต่กรณี
คดีไม่มีข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๘๘(๑) ให้เริ่มคดีโดยยื่นค าร้องขอ
ต่อศาล จึงต้องใช้ถ้อยค าว่า “ผู้ร้องยื่นค าร้องขอว่า”
ถ้ามีการขอแก้ไขค าร้องขอและศาลอนุญาตแล้ว ให้ใช้ถ้อยค าว่า “ผู้ร้องยื่น
ค าร้องขอและแก้ไขค าร้องขอว่า”
ถ้ามีผู้ยื่นค าคัดค้านเข้ามาในคดีไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ถ้อยค าว่า “ผู้คัดค้านยื่น
ค าคัดค้านว่า”
๑.๓.๓ ค าให้การ
ให้ย่อค าให้การพอได้ใจความ แต่ต้องครบถ้วน ค าให้การที่ไม่ก่อให้เกิด
ประเด็นก็อย่าตัดออก
ถ้ามีการขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมค าให้การและศาลอนุญาต ให้ใส่ไว้ด้วยว่า
มีการขอแก้ไขค าให้การ โดยใช้ถ้อยค าว่า “จ าเลยให้การและแก้ไขค าให้การว่า . . .”
ค าขอท้ายค าให้การให้ระบุด้วยว่า ขอให้ยกฟ้อง หรือขอช าระหนี้บางส่วน
ส่วนค าขอให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจ าเลยไม่จ าเป็นต้องเขียน
ถ้ามีฟ้องแย้งให้ระบุว่า “จ าเลยให้การและฟ้องแย้งว่า . . .” ส่วนท้าย
ค าให้การให้ระบุว่า ขอให้ยกฟ้อง และขอให้บังคับโจทก์อย่างไรให้ตรงกับที่ขอมาท้ายฟ้องแย้ง
ต่อจากนั้นจึงย่อค าให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์เป็นล าดับถัดไปท านองเดียวกับค าให้การของ
จ าเลย