Page 279 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 279

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๒๕๑


                             ๑.๓.๔  ชี้สองสถาน
                                      ถ้ามีการชี้สองสถานให้เขียนด้วยว่า ศาลชี้สองสถานก าหนดประเด็น


                  ข้อพิพาทไว้อย่างไร ส่วนฝ่ายใดมีหน้าที่น าสืบและศาลก าหนดให้  ฝ่ายใดน าพยานเข้าสืบ

                  ก่อนหลังอย่างไรไม่ต้องเขียน

                             ๑.๓.๕  ชั้นพิจารณาหากศาลอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์

                  หรือมีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะหรือศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม

                  หรือให้ใช้ถ้อยค าว่า  “ระหว่างพิจารณา  . . . ยื่นค าร้องขอสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์

                  ศาลอนุญาต”“ระหว่างพิจารณาศาลหมายเรียก . . . เข้ามาเป็นคู่ความแทน . . . ผู้มรณะ” “ระหว่าง

                  พิจารณาศาลหมายเรียก . . . เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม (จ าเลยร่วม)”

                             ๑.๓.๖  ทางพิจารณา

                                      ให้เขียนทางน าสืบของฝ่ายที่มีหน้าที่น าพยานเข้าสืบก่อน ซึ่งปกติโจทก์มัก

                  มีหน้าที่น าพยานเข้าสืบก่อน กรณีเช่นนี้ให้เขียนว่า “ทางพิจารณาโจทก์น าสืบว่า” แต่ถ้าจ าเลย

                  มีหน้าที่น าพยานเข้าสืบก่อนให้เขียนว่า “ทางพิจารณาจ าเลยซึ่งมีหน้าที่น าพยานเข้าสืบก่อน
                  น าสืบว่า”  จบแล้วจึงเขียนทางน าสืบของอีกฝ่ายหรือของคู่ความฝ่ายอื่นต่อไปจนครบทุกคน



                            ๑.๔   เหตุผลแห่งค าวินิจฉัย

                             ให้เขียนเหตุผลแห่งค าวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ก าหนดไว้  ทั้งปัญหา

                  ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ครบทุกข้อเป็นล าดับไป หรือจะยกประเด็นข้อใดขึ้นวินิจฉัยก่อน

                  ก็ได้  ปกติถ้ามีประเด็นเรื่องอ านาจฟ้องหรือฟ้องเคลือบคลุมมักจะยกขึ้นวินิจฉัยก่อน


                            ๑.๕  พิพากษา

                             เมื่อวินิจฉัยได้ผลคดีเป็นอย่างไร  จึงเขียนผลของคดีว่าศาลพิพากษาว่าอย่างไร

                  โดยเขียนว่า  “พิพากษาว่า”  ไม่ใช้ค าว่า  “จึงพร้อมกันพิพากษาว่า”  ถ้าพิพากษาให้ไม่เต็มตาม


                  ค าขอท้ายฟ้องต้องเขียนปิดท้ายไว้ด้วยว่า  “ค าขออื่นนอกจากนี้ให้ยก” ตลอดจนความรับผิด
                  ในค่าฤชาธรรมเนียมให้ตกแก่ฝ่ายใด หรือให้เป็นพับ


                             ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง ต้องก าหนดให้เสมอ ถ้าจะให้เป็นพับ

                  ก็ต้องสั่งว่าให้เป็นพับ

                             ในกรณีที่มีฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง  เมื่อวินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดีในฟ้องเดิมแล้ว ก็ต้อง

                  พิพากษายกฟ้องแย้ง และต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งด้วย
   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284