Page 281 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 281

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๒๕๓


                                ถ้าใช้ค าว่า เวลาประมาณ ไม่ต้องมี .๐๐ นาฬิกา หรือค าว่า เศษ เช่น ใช้เวลา

                  ประมาณ ๙ นาฬิกา ไม่ใช้ เวลาประมาณ ๙.๐๐ นาฬิกา หรือ ๙ นาฬิกาเศษ

                             ๔. ค าย่อนั้นปกติจะไม่ใช้ในค าพิพากษา แต่ในกรณีที่กล่าวซ ้ากันหลายครั้ง

                  ครั้งต่อ ๆ ไปอาจใช้ค าย่อแล้วใส่  “ฯ”  ไว้ข้างท้ายได้ เช่น กรุงเทพฯ  พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ

                                ส าหรับชื่อ พ.ศ. ของกฎหมาย ให้ใช้ พ.ศ. ทั้งหมด  ไม่ว่าชื่อกฎหมาย

                  จะใช้  พ.ศ.  พุทธศักราชหรือพระพุทธศักราช

                             ๕. ชื่อคู่ความควรตรวจให้ถูกต้องตามค าคู่ความ  เนื่องจากอาจมีผลในการบังคับคดี

                  ส าหรับชื่อบุคคลอื่น ต าแหน่ง  สถานที่  หรือสิ่งใด  หากไม่อาจทราบแน่ได้ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

                  ควรใช้ให้เหมือนกันทุกแห่ง โดยจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้


                            ๑.๘ การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในค าพิพากษา

                                      ค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๙ วรรคหนึ่ง  นั้น ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล

                  ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล ค่าป่ วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยาน

                  ผู้เชี่ยวชาญ ล่าม และเจ้าพนักงานศาล ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการด าเนินคดี ตลอดจน

                  ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้ช าระ

                             ๑.๘.๑   ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง (ฎีกาที่ ๑๗๙๓/๒๕๒๔)

                  ดังนั้น  เมื่อศาลท าค าพิพากษาจึงไม่ต้องสั่งอีกว่า “  . . . และให้ใช้ค่าทนายความแก่อีกฝ่ายหนึ่ง”


                  แต่ต้องก าหนดค่าทนายความว่าจะให้ใช้เป็นจ านวนเงินเท่าใด
                                      ไม่ควรสั่งว่า “ให้จ าเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ ๓,๐๐๐ บาท แทนโจทก์”


                                      แต่ควรสั่งว่า  “ให้จ าเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยก าหนดค่าทนายความ

                  ๓,๐๐๐ บาท”

                                      หมายความว่า  ค่าทนายความนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม  เพียงแต่

                  ยัง  ไม่ทราบว่าเป็นจ านวนเท่าใด  ศาลจึงต้องก าหนดลงไปให้แน่ชัดว่าจะให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม

                  เฉพาะส่วนที่เป็นค่าทนายความเท่าใด

                             ๑.๘.๒   ค่าใช้จ่ายในการด าเนินคดี ตามตาราง ๗ ท้าย ป.วิ.พ. เป็นค่าฤชาธรรมเนียม

                  อย่างหนึ่งที่กฎหมายเพิ่มเติมขึ้นใหม่  ดังนั้น การก าหนดความรับผิดในชั้นที่สุดส าหรับค่าฤชา

                  ธรรมเนียมทั้งปวงตามมาตรา ๑๖๑ นอกจากศาลต้องก าหนด ค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทน

                  ตามตาราง ๖ แล้ว ศาลยังต้องก าหนดค่าใช้จ่ายในการด าเนินคดีตามตาราง ๗ อีกด้วยไม่ว่าคู่ความ

                  จะมีค าขอหรือไม่ (ฎีกาที่ ๑๑๐๙๑/๒๕๕๘ ประชุมใหญ่) มีหลักเกณฑ์การก าหนดจ านวนเงิน

                  ค่าใช้จ่ายในการด าเนินคดี ดังนี้
   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286