Page 280 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 280
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒๕๒
ศาลจะต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเสมอ (ฎีกาที่ ๒๔๘๒/๒๕๑๗) ไม่ว่าคู่ความ
จะมีค าขอหรือไม่ก็ตาม (มาตรา ๑๖๗) (ฎีกาที่ ๒๖๓๙ - ๒๖๔๐/๒๕๑๘,๕๑๗/ ๒๕๓๙) คดีไม่มี
ข้อพิพาทฝ่ายเริ่มคดีต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเอง ศาลต้องสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ
๑.๖ ลงลายมือชื่อ
ผู้พิพากษาที่พิพากษาหรือท าค าสั่งต้องครบองค์คณะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
และลงลายมือชื่อไว้ หากผู้พิพากษาคนใดลงลายมือชื่อไม่ได้ก็ให้ผู้พิพากษาอื่นที่เป็นองค์คณะ
หรืออธิบดีผู้พิพากษาจดแจ้งเหตุกลัดไว้ในส านวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๑ วรรคสอง ทั้งนี้
อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอาจมอบหมายให้รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและอธิบดี
ผู้พิพากษาภาค อาจมอบหมายให้รองอธิบดีผู้พิพากษาภาคหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี
เป็นผู้จดแจ้งเหตุกลัดไว้ในส านวนแทนก็ได้
หมายเหตุ
กรณีดังกล่าวเป็ นคนละเรื่องกับการลงลายมือชื่อตามมาตรา ๒๘ ถึง ๓๑
แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
๑.๗ ความเห็นแย้ง
ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะคนใดมีความเห็นแย้งก็ให้เขียนความเห็นแย้งแสดงเหตุผล
ของตนกลัดไว้ในส านวน (มาตรา ๑๔๐(๒)) ความเห็นแย้งต้องท าเป็นหนังสือ
ข้อสังเกต
๑. การใช้ตัวเลขหรือตัวหนังสือควรใช้ให้เหมือนกันทั้งร่างฯกรณีที่ใช้ตัวเลข เช่น
จ าเลย ๕ คน โจทก์ที่ ๑ ฯลฯ กรณีที่ใช้เป็นตัวหนังสือ เช่น จ าเลยทั้งห้า ฯลฯ จ านวนเงิน
ค่าสินไหมทดแทนและค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแพ่งใช้เป็นตัวเลข โดยไม่ต้องวงเล็บเป็น
ตัวหนังสืออีก
ตัวอย่าง การใช้จ านวนเงิน บาท สตางค์ ไม่ควรใช้ ๔๐ บาท ๕๐ สตางค์ ควรใช้ว่า
๔๐.๕๐ บาท
๒. เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจ าเลยบางคนและศาลอนุญาตแล้ว ให้ระบุในค าพิพากษาด้วย
(ฎีกาที่ ๔๑๘/๒๕๓๙)
๓. การระบุเวลา ใช้ว่า เวลา ๙.๓๐ นาฬิกา ไม่ใช้ ๐๙.๓๐ นาฬิกา หรือ ๙.๓๐ น.
เว้นแต่เวลา ๐.๓๐ นาฬิกา
ถ้าไม่มีเศษนาที ใช้ว่า เวลา ๙ นาฬิกา ไม่ใช่ ๙.๐๐ นาฬิกา