Page 315 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 315
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒๘๗
เมื่อตามค าร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เพียงกล่าวอ้างว่ามีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายมิได้กล่าวอ้างว่า
ตนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดคดีจึงไม่มีมูลที่จะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ ไม่จ าเป็นจะต้องไต่สวน
ค าร้องขออนาถาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๕๕)
โดยมีค าสั่งในค าร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ส่วนค าฟ้องโจทก์ยังมิได้
เสียค่าธรรมเนียม จึงสั่งไม่รับฟ้องหรือพิพากษายกฟ้องเสียทันทีไม่ได้ (ฎีกาที่ ๒๕๖/ ๒๕๐๗
โจทก์ฟ้อง พร้อมกับยื่นค าขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา ถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าฟ้องโจทก์ต้องห้าม
ก็สั่งได้แต่ยกค าขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาอย่างเดียว ไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับค าฟ้องของ
โจทก์) และจะสั่งจ าหน่ายคดีโดยถือว่าทิ้งฟ้องก็ไม่ถูกต้อง (ฎีกาที่ ๘๖๖/๒๕๑๘)
๑.๑.๒ หากโจทก์ยื่นค าร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ยื่นค าฟ้องเข้ามาด้วย
อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕๖ วรรคหนึ่ง ศาลยกค าร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน (ฎีกาที่
๑๘๗๗/๒๕๕๐)
๑.๑.๓ หากศาลพิจารณาค าร้องและพยานหลักฐานที่ยื่นมาพร้อมค าร้องประกอบ
ค าฟ้องแล้ว เห็นว่า โจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือหากโจทก์ไม่ได้รับ
ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาถึงสถานะของโจทก์
และคดีโจทก์มีเหตุผลอันสมควรที่จะฟ้องร้อง ก็สามารถสั่งอนุญาตได้โดยไม่ต้องไต่สวน
และไม่จ าต้องส่งส าเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ตัวอย่างค าสั่ง
“พิเคราะห์ค าร้องและพยานหลักฐานที่โจทก์ยื่นมาพร้อมค าร้องประกอบ
ค าฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีของโจทก์มีเหตุผลอันสมควรที่จะฟ้องร้อง และโจทก์เป็นคนไม่มี
ทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลจริง (หรือ /และหากโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
ศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาถึงสถานะของโจทก์) จึงอนุญาตให้โจทก์
ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น . . .”
สั่งในค าฟ้องว่า “รับฟ้อง หมายส่งส าเนาให้จ าเลย ให้โจทก์วางเงินค่าน าส่ง
ตามข้อบังคับว่าด้วยการส่งค าคู่ความและเอกสารทางคดีอย่างช้าภายในวันท าการถัดไป มิฉะนั้น
ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง นัด . . .วันที่ . . . เวลา . . .น.” หรือสั่งว่า “รับฟ้อง หมายส่งส าเนาให้จ าเลย
ให้โจทก์จัดการน าส่งภายใน ๗ วัน นับแต่วันนี้ หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน ๑๕ วัน นับแต่
วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง . . .”
(ค าว่า “ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล” มีความหมายกว้างกว่า
ค าว่า “ยากจน” ตามมาตรา ๑๕๕ เดิม (ฎีกาที่ ๑๙๕/๒๕๕๐) กรณีที่ทรัพย์สินของผู้ร้องทั้งหมด