Page 349 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 349
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๒๑
ส่วนที่ ๕
การร้องสอดเข้าเป็นคู่ความ
การเข้ามาเป็นคู่ความโดยการร้องสอดตามมาตรา ๕๗ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาเองหรือถูก
หมายเรียกเข้ามา ผู้ที่จะเข้ามาต้องเป็นบุคคลภายนอกคดี จ าเลยที่ ๑ ซึ่งจ าเลยที่ ๒ ขอให้เรียก
เข้ามาเป็นคู่ความอยู่ในคดีแล้ว การที่จ าเลยที่ ๑ ขาดนัดพิจารณา แต่โจทก์ยังคงด าเนินคดีแก่จ าเลย
ที่ ๑ ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจ าเลยที่ ๑ เป็นบุคคลภายนอกที่จ าเลยที่ ๒ จะเรียกเข้ามาโดยการร้อง
สอดตามมาตรา ๕๗(๓) ได้ (ฎีกา๕๔๖๓/๒๕๓๔) จ าเลยที่ ๓ เป็นจ าเลยในคดีอยู่แล้ว
แม้จะอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจ าเลยที่ ๑ ประสงค์จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนจ าเลยที่ ๑
ซึ่งขาดนัด จ าเลยที่ ๓ ก็ไม่ใช่บุคคลภายนอกไม่อาจร้องสอดเข้ามาในคดีได้ (ฎีกาที่ ๗๗๐๙/
๒๕๔๔)
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ ต้องมีค าฟ้องเดิมซึ่งสมบูรณ์ โจทก์มิได้ฟ้อง ส. ผู้กระท า
ละเมิด แต่ฟ้องบริษัท ฮ. จ าเลยที่ ๑ เป็นนายจ้าง ครั้นทราบว่า ส. เป็นลูกจ้างของห้าง ค. จึงยื่น
ค าร้องขอให้เรียกห้าง ค. เข้ามาเป็นจ าเลยร่วม เมื่อศาลอนุญาตแล้ว โจทก์ก็ถอนฟ้องจ าเลยที่ ๑
ดังนี้ เป็นเรื่องฟ้องผิดตัว โจทก์ชอบที่จะยื่นฟ้องห้าง ค. เป็นคดีใหม่จะขอให้เรียกเข้ามาเป็น
จ าเลยร่วมตามมาตรา ๕๗ (๓) ไม่ได้ (ฎีกาที่ ๑๗๐๒/๒๕๒๕)
๑. การร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ ายที่สาม
(มาตรา ๕๗(๑)) จะต้องเสียค่าขึ้นศาลหรือไม่อยู่ที่สภาพแห่งค าขอ (ฎีกาที่ ๑๔๖๒/๒๔๙๓
ประชุมใหญ่, ๔๕๗ - ๔๕๘/๒๕๒๑, ๒๙๒๓/๒๕๒๘, ๗๔๖๒/๒๕๔๖)
๑.๑ การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา ๕๗ (๑) นั้น เข้ามาโดยไม่เจาะจงว่าจะเป็น
คู่ความร่วมกับฝ่ายใด และเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามซึ่งพิพาทกับโจทก์หรือจ าเลย
หรือพิพาทกับโจทก์และจ าเลยเดิม (ฎีกาที่ ๗๙๗/๒๕๑๕, ๒๑๑๗/๒๕๓๐, ๑๙๖๕/๒๕๕๐)
๑.๒ การยื่นค าร้องสอดต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา จะขอเข้าเป็น
ผู้ร้องสอดในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาไม่ได้ (ฎีกาที่ ๙๔๐/๒๕๑๑,
๔๕๑๗/๒๕๔๐, ๘๑๐ – ๘๑๑/๒๕๔๗) แต่การร้องสอดในระหว่างการบังคับคดีตามค าพิพากษา
ไม่ว่าเป็นค าพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาย่อมสามารถกระท าได้ หากการบังคับ
คดีมีผลกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกก็สามารถร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อรักษาสิทธิ