Page 351 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 351

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๒๓


                             ถ้าไม่รับ  สั่งว่า  “ค าร้องของผู้ร้องไม่มีเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๗ (๑) จึงไม่รับ

                  ค าร้อง  คืนค่าขึ้นศาลให้ผู้ร้องทั้งหมด”


                                ข้อสังเกต

                                ๑. ร้องสอดว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจ าเลย  เป็นการร้องสอดตาม

                  ป.วิ.พ. มาตรา ๕๗(๑) (ฎีกาที่ ๙๑๗/๒๔๙๓, ๔๖/๒๔๙๕)

                                ๒. โจทก์จ าเลยยอมกันเพื่อโอนทรัพย์สินของจ าเลยไปให้พ้นจากการบังคับคดี

                  ผู้เสียหายฐานยักยอกทรัพย์ร้องสอดในคดีแพ่งได้ (ฎีกาที่ ๑๔๖๔/๒๕๐๓ ประชุมใหญ่)

                                ๓. ผู้ร้องร้องสอดว่าทรัพย์สินที่ศาลสั่งอายัดชั่วคราวเป็นของผู้ร้อง  เป็นการร้องสอด

                  ตาม ป.วิ.พ.  มาตรา ๕๗ (๑) (ฎีกาที่ ๒๒๔/๒๕๒๔)  แต่มีฎีกาที่  ๗๗๘/๒๕๐๓ วินิจฉัยว่ากรณีเช่นนี้

                  เป็นเรื่องร้องขัดทรัพย์  และฎีกาที่ ๕๙๗/๒๕๓๐ วินิจฉัยว่าเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกศาลสั่งยึด

                  หรืออายัดชั่วคราวร้องขอเพิกถอนได้ (ตามมาตรา ๒๖๑)

                                ๔. โจทก์ฟ้องบริษัทเป็นจ าเลยขอให้เพิกถอนมติประชุมใหญ่บริษัทที่ตั้งผู้ร้อง

                  เป็นกรรมการว่ามตินั้นไม่ชอบ ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๗ (๑) (ฎีกาที่

                  ๑๕๓๗/๒๕๑๔)

                                ๕. เป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตให้บุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาในคดี

                  หรือไม่ก็ได้  โดยพิจารณาว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ (ฎีกาที่ ๙๒๕/๒๕๐๘) โดยถือหลักว่า


                  หากอนุญาตให้มีการร้องสอดเข้ามาแล้วจะต้องเริ่มต้นท าการสืบพยานกันใหม่อีก ก็ไม่ควร
                  อนุญาต เช่น ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๗ (๑) โดยยื่นค าร้องหลังจากทราบว่า


                  โจทก์และจ าเลยเป็นความกันมานาน ๕ ปีแล้ว และสืบพยานโจทก์แล้ว ๑๔ นัด สืบพยานจ าเลย

                  ไปแล้ว ๒๙ นัด  ดังนี้ ศาลไม่อนุญาต (ฎีกาที่ ๑๓๕๕/๒๕๒๑) คดีที่มีการรวมการพิจารณา

                  เก้าส านวนเข้าด้วยกัน หากอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ซึ่งศาลก็ต้องให้

                  โจทก์จ าเลยยื่นค าให้การแก้ข้อกล่าวหาด้วย  จึงอาจก่อให้เกิดความยุ่งยากสับสนในการด าเนิน

                  กระบวนพิจารณา ชอบที่ศาลจะใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม

                  ตามมาตรา ๕๗ (๑) (ฎีกาที่ ๑๑๑๓/๒๕๓๕, ๗๕๘๔- ๗๕๙๒/๒๕๔๐)

                                ๖. จ าเลยเดิมขาดนัดยื่นค าให้การ ผู้ร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๗ (๑) มีสิทธิ

                  เข้าเป็นคู่ความได้ (ฎีกาที่ ๗๙๗/๒๕๑๕ และ ๑๗๒/๒๕๒๐)


                  ๒. การร้องสอดเข้าเป็นคู่ความร่วมกับโจทก์หรือจ าเลย (มาตรา ๕๗ (๒))


                        ๒.๑  การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความร่วม ตามมาตรา ๕๗ (๒) นั้นต้องเข้ามาโดยสมัครใจ

                  และมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น หมายถึงว่าจะต้องเป็นผู้ถูกกระทบกระเทือน
   346   347   348   349   350   351   352   353   354   355   356