Page 355 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 355

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๒๗


                  ฟ้องแย้งเพราะผู้ร้องสอดจะใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่จ าเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตน

                  เข้าร่วมไม่ได้ (ฎีกา ๓๖๖๕/๒๕๓๘)

                                ๔.  เป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตให้ร้องสอดได้หรือไม่

                                ๕. โจทก์ฟ้องขับไล่จ าเลยออกจากที่พิพาท  ผู้ร้องอ้างว่าเช่าช่วงที่พิพาทจากจ าเลย

                  โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาท จึงขอเข้าเป็นจ าเลยร่วม  ดังนี้ เป็นการขอเข้ามาตามมาตรา

                  ๕๗ (๒) (ฎีกาที่ ๓๑๕/๒๕๒๑)

                                 ๖.  แม้ศาลจะอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาแทนที่คู่ความเดิม ตามมาตรา ๕๗ (๒)

                  คู่ความเดิมคือโจทก์หรือจ าเลยก็ยังเป็นคู่ความในคดีนั้นอยู่และต้องรับผิดตามค าพิพากษาและ

                  สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ (ฎีกาที่ ๒๔๐๔/๒๕๒๙)

                                ๗. เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกค าร้องขอจ าเลยที่ขอให้เรียก  ส. เข้ามาเป็นจ าเลยร่วม

                  จ าเลยและจ าเลยร่วมมิได้ฎีกา กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจ าเลยร่วมหลังจากที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้


                  ส. เข้ามาเป็นจ าเลยร่วม รวมทั้งพยานหลักฐานของจ าเลยร่วมย่อมเป็นอันถูกเพิกถอนไปในตัว
                  รับฟังเป็นพยานหลักฐานของจ าเลยไม่ได้ (ฎีกา ๘๘๔/๒๕๒๑)


                                ๘. ค าร้องสอดของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ขอเข้ามาเป็นจ าเลยร่วมตาม

                  มาตรา ๕๗ (๒) ถือว่าเป็นค าคู่ความตามมาตรา ๑ (๕) ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีค าสั่งไม่อนุญาต

                  ผู้ร้องย่อมอุทธรณ์ค าสั่งได้ แต่เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ จ าเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ค าสั่ง

                  ศาลชั้นต้นดังกล่าวแทนผู้ร้อง (ฎีกา ๑๒๕๔/๒๕๔๗, ๔๔๑๐- ๔๔๑๑/๒๕๔๒)

                                ๙. แม้โจทก์กับจ าเลยจะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่า

                  ที่พิพาทจากโจทก์ร่วมเข้าครอบครองท าประโยชน์ในที่พิพาทไม่ได้เนื่องจากจ าเลยซึ่งเป็นผู้เช่า

                  ที่พิพาทจากโจทก์ร่วมและสัญญาเช่าสิ้นสุดลงก่อนหน้านี้ไม่ยอมออกไปจากที่พิพาทนั้น

                  ย่อมเป็นการรอนสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิด าเนินคดีแก่จ าเลยโดยการยื่นค าฟ้องพร้อมกับขอให้

                  ศาลเรียกผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๗๗ และ ๕๔๙

                  ซึ่งโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวแล้ว กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมร้องสอด

                  เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๗ (๒) เมื่อโจทก์ร่วมยินยอมเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามที่

                  โจทก์มีค าขอแล้ว ก็ย่อมมีผลท าให้โจทก์และโจทก์ร่วมมีอ านาจฟ้องจ าเลย (ฎีกา ๘๗๐๕/

                  ๒๕๔๗)


                  ๓.  การถูกหมายเรียกเข้ามาในคดี (มาตรา ๕๗ (๓))


                        ๓.๑  คู่ความขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีตามมาตรา ๕๗(๓) นั้น  ต้องยื่นค าร้อง

                  พร้อมกับค าฟ้องหรือค าให้การหรือยื่นในเวลาใด ๆ ก่อนมีค าพิพากษา แต่กรณีที่มิได้ยื่นค าร้อง
   350   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360