Page 350 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 350

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๒๒


                  ของตนได้ตามมาตรา ๕๗ (๑) โดยยื่นค าร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีนั้น (ฎีกาที่

                  ๓๗๗๖/๒๕๓๔ ประชุมใหญ่, ๑๐๓๑/๒๕๓๗, ๒๕๙๑/๒๕๔๕)

                            มาตรา ๕๗ (๑) บัญญัติให้บุคคลภายนอกร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้โดยยื่นต่อศาล

                  ที่คดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณา  เมื่อปรากฏว่าในวันที่ผู้ร้องทั้งสอง (ผู้ร้องสอด) ยื่นค าร้องขอเข้ามา

                  เป็นคู่ความนั้น ศาลชั้นต้นได้สั่งยกค าร้องของผู้ร้องไปแล้ว  จึงไม่มีคดีของผู้ร้องทั้งสองจะเข้ามา

                  เป็นคู่ความร่วมได้  ศาลจึงชอบที่จะสั่งไม่รับค าร้องของผู้ร้องทั้งสองได้ (ฎีกาที่ ๕๓๘๓/๒๕๓๔)

                            ศาลชั้นต้นพิพากษาและออกค าบังคับให้จ าเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจาก

                  ที่ดิน  และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จ าเลยทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์  จ าเลยจะต้อง

                  รื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปตามค าบังคับ  ซึ่งจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้อง หากผู้ร้อง

                  เป็นเจ้าของบ้านและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว  ดังนี้ ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและ

                  ถูกโต้แย้งสิทธิจึงชอบที่จะต้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๗ (๑) ได้


                  โดยไม่ต้องรอให้มีการบังคับคดีเสียก่อน  เนื่องจากโจทก์ย่อมขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
                  รื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างได้ทันทีตามมาตรา ๒๙๖ ทวิ (ฎีกาที่ ๓๗๗๖/๒๕๓๔ ประชุมใหญ่)


                            ๑.๓  สิทธิที่จะขอความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับอันจะเป็นเหตุให้ร้องสอดได้ต้องเป็น

                  สิทธิที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้น  เช่น  โจทก์ฟ้องว่าจ าเลยน าเจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินรุกล ้าเข้าไปใน

                  ที่ดินโจทก์ และในการท าแผนที่พิพาท  โจทก์ได้น าชี้ที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทว่าเป็นของ

                  โจทก์นั้นด้วย   ถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินอื่นนอกเขตที่พิพาทมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทด้วยกัน

                  ระหว่างโจทก์จ าเลย  เจ้าของที่ดินแปลงอื่นนอกเขตที่พิพาทจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดี

                  ไม่ว่าในฐานะเป็นจ าเลยร่วมหรือคู่ความฝ่ายที่สาม (ฎีกาที่ ๔๔๗๗/๒๕๒๙)

                            ๑.๔  ค าร้องสอดตามมาตรา ๕๗(๑) ถ้าเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจ าเลย


                  เดิมเป็นค าฟ้องตามมาตรา ๑ (๓) จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลและต้องบรรยายให้มีลักษณะเป็นค าฟ้อง

                  ครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง  คือต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา

                  และค าขอบังคับ  ถ้าไม่มีค าขอบังคับโดยชัดแจ้งมาด้วยก็เป็นค าร้องที่ไม่ชอบเพราะกรณีเช่นนี้

                  หากศาลอนุญาตให้ร้องสอดเข้ามาแล้วก็ต้องให้โจทก์และจ าเลยเดิมยื่นค าให้การแก้ข้อหา

                  ของผู้ร้องสอดด้วย (ฎีกาที่ ๑๔๔๗/๒๕๓๐)


                            ๑.๕  สั่งค าร้องสอดว่า “รับค าร้อง ส าเนาให้โจทก์จ าเลยแก้คดีภายใน ๑๕ วัน ให้ผู้ร้อง
                  น าส่งหมายและส าเนาค าร้องภายใน ๗ วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้แถลงเพื่อด าเนินการต่อไปภายใน ๑๕ วัน


                  นับแต่วันส่งไม่ได้  ถ้าไม่แถลงถือว่าทิ้งค าร้อง”
   345   346   347   348   349   350   351   352   353   354   355