Page 385 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 385
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๕๗
ข้อสังเกต
๑. การแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะด าเนินคดีตามมาตรา ๒๐๖
วรรคสาม มิได้บัญญัติไว้ให้ท าเป็นค าร้อง ดังนั้น ในกรณีที่คู่ความที่ขาดนัดพิจารณามาศาล
จึงท าเป็นค าแถลงได้ (เทียบฎีกาที่ ๓๗๘/๒๕๐๓)
๒. ค าขอพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา ๒๐๖ วรรคสาม นั้น หากคู่ความอีกฝ่าย
ไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ได้โดยไม่จ าต้องไต่สวน
๓. ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว และแจ้ง
ต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะด าเนินคดี ศาลจะต้องพิจารณาว่าการขาดนัดพิจารณา
เป็นไปโดยจงใจหรือไม่ หรือมีเหตุสมควรหรือไม่ เพราะหากการขาดนัดนั้นมิได้เป็นไปโดย
จงใจหรือมีเหตุสมควร ศาลจะต้องมีค าสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ถ้าศาลไม่ปฏิบัติดังนี้ การด าเนิน
กระบวนพิจารณาถือว่าเป็นไปโดยมิชอบ (เทียบฎีกาที่ ๒๕๐๔/๒๕๑๗, ๓๕๖๗/๒๕๒๔,
๓๘๕๔/๒๕๓๒)
๔. หากศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณาคดีนั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุ
อันสมควร หรือคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณามิได้แจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์
จะด าเนินคดี หรือค าขอพิจารณาคดีใหม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ให้ศาลด าเนินกระบวนพิจารณา
ต่อไป แต่
๔.๑ ห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาน าพยานเข้าสืบ
ถ้าคู่ความนั้นมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จะน าพยานของตนเข้าสืบเสร็จแล้ว (มาตรา ๒๐๖ วรรคสี่(๑))
๔.๒ ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณานั้นมาศาลเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งน าพยาน
เข้าสืบไปแล้ว คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาจะถามค้านพยานที่ได้สืบไปแล้วไม่ได้ และจะคัดค้าน
การระบุเอกสาร หรือคัดค้านค าขอที่ให้ศาลไปท าการตรวจ หรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาลไม่ได้
คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาคงมีสิทธิเพียงหักล้างได้แต่เฉพาะพยานหลักฐานที่น าสืบภายหลังที่ตน
มาศาล (มาตรา ๒๐๖ วรรคสี่(๒))
๔.๓ เมื่อศาลพิพากษาให้แพ้คดี ไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ (มาตรา ๒๐๖
วรรคสี่(๓)) (เทียบฎีกาที่ ๔๒๖๓/๒๕๓๐, ๔๔๑๒/๒๕๓๖)
๕. ค าขอให้พิจารณาคดีใหม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ได้แก่ ค าขอของคู่ความที่เคย
ขาดนัดพิจารณาและเคยขอพิจารณาคดีใหม่มาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
กลับขาดนัดพิจารณาอีก กับค าขอของคู่ความที่เคยขาดนัดพิจารณาแล้วศาลมีค าพิพากษาให้แพ้