Page 388 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 388
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๖๐
ค าขอให้พิจารณาคดีใหม่ที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคสอง เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ (ฎีกาที่ ๒๑๕๐/๒๕๑๕,
๙๒๕/๒๕๒๖)
ค าร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่สามารถแก้ไขได้ แต่จะต้องยื่นค าร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม
ก่อนศาลยกค าร้องฉบับเดิม หากศาลมีค าสั่งยกค าร้องขอให้พิจารณาใหม่ไปแล้ว ศาลไม่จ าต้อง
สั่งเกี่ยวกับค าร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอีก (เทียบฎีกาที่ ๑๕๘๗/๒๕๔๒)
๒.๓ ค าร้องนั้นต้องยื่นภายในก าหนดเวลาตามมาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคหนึ่ง คือ
๒.๓.๑ ต้องยื่นภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งค าบังคับตามค าพิพากษาหรือค าสั่ง
ให้แก่คู่ความที่ขาดนัด
๒.๓.๒ ต้องยื่นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ศาลได้ก าหนดการอย่างใดเพื่อให้การส่ง
ค าบังคับมีผล เช่น ศาลอาจจะสั่งว่าคู่ความที่ขาดนัดไม่อยู่ในราชอาณาจักรในขณะที่มีการปิด
ค าบังคับ จึงให้การปิดค าบังคับนี้มีผลเมื่อระยะเวลา ๖๐ วัน ได้ล่วงพ้นไป
๒.๓.๓ ต้องยื่นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่มีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
สิ้นสุดลง
๒.๓.๔ แต่คู่ความที่ขาดนัดจะยื่นค าร้องขอพิจารณาคดีใหม่หลัง ๖ เดือน นับแต่
วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามค าพิพากษาหรือค าสั่งโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ เช่น
จ าเลยยื่นค าขอเมื่อพ้นก าหนด ๖ เดือน นับแต่วันยึดทรัพย์ แม้จะมีพฤติการณ์
นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เกิดขึ้นจนเกิน ๖ เดือน จ าเลยก็หามีสิทธิที่จะยื่นค าขอให้พิจารณาคดีใหม่
ได้ไม่ (ฎีกาที่ ๒๕๒๐/๒๕๓๒)
กรณีที่มีจ าเลยหลายคน ก าหนดเวลา ๖ เดือน นับแต่วันที่ถูกยึดทรัพย์
หมายถึงเฉพาะจ าเลยคนที่ถูกยึดทรัพย์เท่านั้น (ฎีกาที่ ๒๑๕๒/๒๕๓๖)
กรณีที่ไม่มีการยึดทรัพย์ ให้นับ ๖ เดือน นับแต่วันที่มีการบังคับตามค าพิพากษา
หรือค าสั่งโดยวิธีอื่น เช่น ภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่โจทก์น าค าพิพากษาของศาลไปเปลี่ยนแปลง
ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่โจทก์น าค าพิพากษาอันถึงที่สุดไปให้นายทะเบียน
บันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนสมรส (ฎีกาที่ ๑๓๓๐/๒๕๓๘)
๒.๔ กรณีที่มีการส่งหมายนัดหรือค าบังคับให้แก่คู่ความที่ขาดนัดโดยไม่ชอบด้วย
กฎหมาย คู่ความที่ขาดนัดมีสิทธิยื่นค าขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้ เพราะเป็นการเพิกถอน
กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา ๒๗ และค าขอนี้ไม่จ าต้องบรรยายให้เข้าหลักเกณฑ์
ตามมาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคสอง (ฎีกาที่ ๖๙๒๘/๒๕๓๗, ๖๙๑๑/๒๕๓๙, ๗๓๙/๒๕๔๒)