Page 392 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 392

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๖๔


                  ๒.  ต้องมีการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี


                            ๒.๑  ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๓๘  คู่ความจะต้องตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน
                  ในประเด็นแห่งคดี ซึ่งรวมถึงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นแห่งคดีด้วยแต่จะเกินค าขอท้ายฟ้องหรือไม่


                  ไม่ส าคัญ เพราะว่ามาตรา ๑๓๘  ไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา ๑๔๒ ซึ่งห้ามมิให้ศาลพิพากษา

                  เกินค าขอหรือนอกจากที่ปรากฏในค าฟ้อง (ฎีกาที่ ๑๘๔๘/๒๕๑๖, ๑๔๙๒/๒๕๒๘)

                            ๒.๒  ถึงหากมีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความนอกประเด็นแห่งคดีก็เป็นปัญหา

                  ในชั้นพิจารณา   เมื่อศาลท ายอมให้และพิพากษาตามยอมคดีเสร็จสิ้นไปโดยไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา

                  ค าพิพากษาตามยอมนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา ๑๔๗  มีผลผูกพันคู่ความตามมาตรา ๑๔๕ และ


                  ต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีก ตามมาตรา ๑๔๘ ศาลหรือคู่ความฝ่ายใดจะอ้างว่าการประนีประนอม
                  ยอมความไม่ชอบหาได้ไม่ (ฎีกาที่ ๑๑๑๗/ ๒๔๙๙, ๖๗๔/๒๕๑๙)


                  ๓.  สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล หากมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลแก้ไขได้


                  และคู่ความอาจร้องขอให้ตีความแสดงเจตนาได้

                            สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของค าพิพากษา  ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือ

                  ข้อผิดหลงเล็กน้อย  ย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา ๑๔๓ (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๒๕๓๑/๒๕๓๘)

                  ถ้าหากมีการเขียนสัญญาประนีประนอมยอมความผิดพลาด ไม่ตรงตามเจตนาอันแท้จริงของ

                  คู่ความ   เมื่อไม่อาจตกลงกันได้  คู่ความฝ่ายที่เสียประโยชน์ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้ตีความ

                  แสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑, ๓๖๘  (ฎีกาที่ ๕๒๕/๒๕๑๖)  ซึ่งศาลมีอ านาจไต่สวน

                  ฟังข้อเท็จจริงประกอบการตีความแสดงเจตนาได้   กรณีที่ศาลพิพากษาให้แพ้คดีตามสัญญา


                  ประนีประนอมยอมความแล้วจะมาร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยอ้างเหตุว่าลายเซ็นชื่อของจ าเลย
                  ในใบแต่งทนายความของตนเป็นลายเซ็นปลอมไม่ได้ (ฎีกาที่ ๒๔๕๐/๒๕๒๕)


                  ๔.  ข้อตกลงนอกศาลนอกเหนือสัญญาประนีประนอมยอมความศาลไม่รับฟัง


                            เมื่อมีการท าสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล  ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมและคดี

                  ถึงที่สุดไปแล้ว    คู่ความฝ่ายใดจะอ้างว่ามีข้อตกลงนอกศาล  เพื่อมิให้มีการบังคับคดีหรือ

                  เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นมิได้ (ฎีกาที่ ๔๑๗/๒๕๐๔, ๑๑๑๗/๒๕๑๑, ๒๗๒๕/๒๕๑๕) แต่ถ้า

                  ข้อสัญญาที่ก าหนดกันไว้นั้นมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลจะบังคับให้จ าเลยปฏิบัติมิได้  หากแต่เป็นเรื่อง

                  ที่โจทก์จ าเลยจะปฏิบัติต่อกันเองตามความสมัครใจย่อมอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ โดยไม่ถือ

                  ว่าเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ ศาลต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงว่ามีการตกลงกัน

                  นอกศาลจริงหรือไม่ (ฎีกาที่ ๒๔๒๔/๒๕๑๖)  ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๔๒๔/๒๕๑๖ นี้ ยังไม่ถือว่า
   387   388   389   390   391   392   393   394   395   396   397