Page 396 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 396
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๖๘
๑๑. ท ายอมว่าให้หญิงไปถอนทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงว่าจ าเลย
มิใช่บิดาที่แท้จริงของเด็กโดยชายให้ค่าตอบแทน ๒๐,๐๐๐ บาท ถือว่าค าพิพากษาตามยอมขัดต่อ
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์อุทธรณ์ได้ (ฎีกาที่ ๒๔๑๔/๒๕๑๙)
๑๒.โจทก์จ าเลยแถลงว่ายอมความกันได้ ศาลไม่ต้องสั่งรับค าให้การจ าเลย
ศาลท าสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมได้ (ฎีกาที่ ๒๑๖๙/๒๕๒๓)
๑๓. คู่ความยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอม โจทก์อุทธรณ์อ้างว่าฉ้อฉล
แต่ข้อความอุทธรณ์เป็นการอ้างความส าคัญผิด ค าพิพากษาตามยอมเสร็จเด็ดขาดตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๑๓๘ ไม่มีประโยชน์จะให้น าสืบตามข้ออ้าง (ฎีกาที่ ๑๒๙๘/๒๕๒๔)
๑๔. จ าเลยอุทธรณ์ว่าถูกทนายโจทก์กับเสมียนศาลขู่ให้ลงลายมือชื่อในสัญญา
ประนีประนอมยอมความที่ศาลท าให้ แต่เมื่อเรียกจ าเลยกับเสมียนมาสอบถามพร้อมกัน จ าเลย
แถลงว่าเสมียนศาลมิได้พูดขู่เข็ญให้จ าเลยลงลายมือชื่อในสัญญายอมไม่มีเหตุเพิกถอนสัญญายอม
(ฎีกาที่ ๑๔๘๕/๒๕๒๔)
๑๕. ในกรณีที่สามีภริยาหย่ากันด้วยความยินยอม ให้ท าความตกลงเป็นหนังสือ
ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อ านาจปกครองบุตร ถ้ามิได้ตกลงหรือตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
ถ้าหย่าโดยค าพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่าชี้ขาดด้วยว่า
ฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อ านาจปกครองบุตร (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๒๐)
๑๖. ในคดีฟ้องบังคับจ านอง ถ้าจ าเลยให้การโดยไม่มีข้อต่อสู้ ไม่ต้องเรียกค่าขึ้นศาล
เพิ่มจากโจทก์ ส่วนค่าขึ้นศาลร้อยละ ๑ ที่โจทก์เสียไว้แล้วนั้น คืนให้โจทก์ ๓ ใน ๔ หรือกึ่งหนึ่ง
หรือคืนเป็นกรณีพิเศษ
ถ้ามีหนี้ประธานอยู่ด้วยคิดค่าขึ้นศาลร้อยละ ๒ ถ้าเป็นคดีบังคับจ านอง
อย่างเดียว เช่น ฟ้องผู้จ านองคนเดียวไม่ได้ฟ้องลูกหนี้ชั้นต้นด้วยคิดร้อยละ ๑ ของจ านวนหนี้
ที่เรียกร้อง แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป คิดร้อยละ ๐.๑ ตามตาราง ๑
ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (๑) (ค)
๑๗. สัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลมีค าพิพากษาตามยอมแล้วถ้าจ าเลย
ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และโจทก์ขอให้ศาลบังคับจ าเลยจะขอให้งดการ
บังคับคดีไว้จนกว่าจะทราบผลแห่งค าพิพากษาในคดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ
หาได้ไม่ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา๒๙๓ วรรคหนึ่ง แต่จ าเลยใช้สิทธิอุทธรณ์ค าพิพากษาได้
ตามมาตรา๑๓๘ (๓) (ฎีกาที่ ๑๔๘๗/๒๕๒๑)
๑๘. การไกล่เกลี่ยของผู้พิพากษาเพื่อให้คู่ความตกลงกัน เป็นหน้าที่ตามกฎหมาย
ของผู้พิพากษาตามมาตรา ๒๐ ซึ่งย่อมเป็นไปตามความสมัครใจของคู่ความ (ฎีกาที่ ๕๐๑๒/๒๕๓๘)