Page 401 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 401

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๗๓


                  การที่ศาลชั้นต้นยกค าร้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ไม่รับอุทธรณ์ค าสั่งของโจทก์ไว้

                  วินิจฉัยด้วยเหตุดังกล่าวจึงชอบแล้วเพราะกรณีของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ค าสั่งศาลชั้นต้น

                  ที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ยื่นค าร้องขอให้เพิกถอน  หาใช่เป็น

                  การอุทธรณ์ค าพิพากษาตามยอมเข้าข้อยกเว้นของมาตรา ๑๓๘ วรรคสอง ที่โจทก์จะอุทธรณ์ได้ไม่

                  (ฎีกาที่ ๒๔๒๖/๒๕๔๘)


                  การประนีประนอมยอมความในชั้นอุทธรณ์/ฎีกา

                                การประนีประนอมยอมความคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือฎีกา  ท าได้ดังนี้

                             ๑. คู่ความทั้งสองฝ่ายยื่นค าร้องพร้อมสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลชั้นต้น


                  สั่งค าร้องว่า  “ส่งศาลอุทธรณ์/ฎีกา  เพื่อพิจารณา”
                             ๒. คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยื่นค าร้องพร้อมสัญญาประนีประนอมยอมความ  สั่งค าร้องว่า


                  “นัดพร้อม”   เมื่อถึงวันนัด จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า

                             “นัดพร้อมวันนี้ โจทก์ ทนายโจทก์ จ าเลยและทนายจ าเลยมาศาล

                              สอบถามแล้ว คู่ความแถลงว่า ได้ตกลงท าสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ได้

                  ยื่นไว้ต่อศาลจริง

                              ให้ส่งสัญญาประนีประนอมพร้อมรายงานกระบวนพิจารณานี้ไปศาลอุทธรณ์/ฎีกา

                  เพื่อพิจารณาด าเนินการต่อไป”

                             ๓. คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายยื่นค าร้องขอให้ศาลอุทธรณ์/ฎีกา ไกล่เกลี่ย

                  สั่งค าร้องว่า  “ส่งศาลอุทธรณ์/ฎีกา เพื่อพิจารณาด าเนินการ”

                               ๔. กรณีที่คู่ความท าสัญญาประนีประยอมความแล้วน ามายื่นต่อศาลชั้นต้น  เมื่อศาลชั้นต้น

                  สอบถามคู่ความแล้วให้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าผู้พิพากษา

                  ในศาลชั้นต้นแล้ว ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นจึงลงลายมือชื่อต่อท้าย ตามแบบพิมพ์สัญญา

                  ประนีประนอมยอมความ (๒๙)

                             ข้อสังเกต

                         คู่ความจะขอท าสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้
   396   397   398   399   400   401   402   403   404   405   406