Page 405 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 405

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๗๗


                              ๒.๒ กรณีที่การกระท ามิได้เกิดขึ้นต่อหน้าศาล  ศาลต้องไต่สวนหาความจริงก่อนมีค าสั่ง

                  การไต่สวนอาจกระท าได้โดยการสืบพยานที่เกี่ยวข้องหรือสอบถามข้อเท็จจริงให้เป็นที่รับกัน

                  เป็นยุติก็ได้ และถือว่าเป็นพยานหลักฐานของศาล ฝ่ายใดจะได้อ้างหรือไม่ไม่ส าคัญ แม้ไม่มี

                  คู่ความฝ่ายใดอ้าง ก็รับฟังได้ และเรื่องละเมิดอ านาจศาลนี้เป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอ านาจค้นหา

                  ความจริงได้โดยไม่จ าต้องกระท าต่อหน้าจ าเลย (ผู้ถูกกล่าวหา) ดังเช่นการพิจารณาคดีอาญา

                  ทั่วไป การที่ศาลบันทึกถ้อยค าพยานไว้ในแบบพิมพ์ค าให้การโดยพยานได้ปฏิญาณหรือสาบาน

                  ตนแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๑๒  แม้จะมิได้กระท าต่อหน้าจ าเลยก็เป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ

                  แล้ว (ฎีกาที่ ๑๖๐๔/๒๕๑๑, ๑๑๕๙/๒๕๒๖, ๔๖๑๗/๒๕๔๗)   ในกรณีที่ศาลท าการ

                  ไต่สวนพยานหรือผู้กล่าวหา พยานหรือผู้กล่าวหาต้องสาบานตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา  ๑๑๒ ด้วย

                  มิฉะนั้น รับฟังพยานดังกล่าวไม่ได้  (ฎีกาที่ ๒๙๖๒/๒๕๔๗)


                        ๒.๓ กรณีที่การกระท ามิได้เกิดขึ้นต่อหน้าศาล และการกระท านั้นมีผลกระทบไปถึงตัว

                  ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดซึ่งจะต้องมีการไต่สวนก่อน กรณีนี้ผู้พิพากษาคนที่ถูกกระทบจากการ

                  กระท านั้นไม่ควรเป็นผู้พิจารณาและลงโทษฐานละเมิดอ านาจศาลเพราะอาจถูกมองว่าเป็นผู้มี

                  อคติหรือมีส่วนได้เสียในคดี ควรจะให้ผู้พิพากษาคนอื่นเป็นผู้พิจารณาและมีค าสั่งเพราะมิฉะนั้น

                  ผู้พิพากษาอาจถูกคัดค้านได้ตามมาตรา ๑๑ (๑)


                           ๒.๔  กรณีกระท าต่อผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งขณะนั่งพิจารณาคดี พึงยึดหลักตามประมวล

                  จริยธรรมข้าราชการตุลาการ ข้อ ๕ วรรคท้าย กล่าวคือใช้อ านาจด้วยความระมัดระวังและไม่ลุแก่

                  โทสะ หากจะต้องด าเนินการไต่สวน ควรให้เจ้าพนักงานศาลในห้องพิจารณาเป็นผู้กล่าวหา

                  โดยให้พยานอื่นที่เห็นเหตุการณ์เป็นพยาน ถ้าจ าเป็นอาจให้ผู้พิพากษาที่ถูกกระท าให้ถ้อยค าเป็น

                  พยาน ส าหรับผู้พิพากษาที่พิจารณาและมีค าสั่งไม่ควรเป็นผู้พิพากษาที่ถูกกระท าเพราะอาจถูก

                  มองว่ามีอคติหรือมีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๑ เช่นเดียวกับข้อ ๒.๓ ควรให้ผู้พิพากษาอื่น

                  เป็นผู้พิจารณาและมีค าสั่ง นอกจากนี้ผู้กระท าอาจมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๙๘ ฐานดูหมิ่น

                  ศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี ดังนั้น ก่อนมีค าสั่งควรปรึกษาผู้รับผิดชอบ


                  ราชการศาลตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการนั่งพิจารณาฯ พ.ศ. ๒๕๔๔
                  ข้อ ๔


                        ๒.๕  การลงโทษละเมิดอ านาจศาล เป็นอ านาจของศาลโดยเฉพาะ ผู้อื่นหามีสิทธิฟ้องคดี

                  เพื่อให้ศาลลงโทษผู้กระท าความผิดไม่ (ฎีกาที่ ๑๑๔๐/๒๕๑๖) แต่ถ้ามีผู้ยื่นค าร้องต่อศาลว่า

                  ผู้ถูกกล่าวหากระท าความผิดฐานละเมิดอ านาจศาลและขอให้ศาลไต่สวนนั้น ศาลย่อมมีอ านาจ

                  วินิจฉัยว่า สมควรจะไต่สวนหาข้อเท็จจริงตามค าร้องหรือไม่ เมื่อเห็นว่าไม่สมควรก็ชอบที่จะยก
   400   401   402   403   404   405   406   407   408   409   410