Page 410 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 410

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๘๒


                  ๓. การอุทธรณ์ฎีกา


                            บทบัญญัติในเรื่องละเมิดอ านาจศาลเป็นบทบัญญัติพิเศษไม่เกี่ยวกับการลงโทษผู้กระท า
                  ความผิดทางอาญาทั่วไป  จึงไม่อยู่ในบังคับของข้อจ ากัดเกี่ยวกับการอุทธรณ์ฎีกาจึงสามารถ


                  อุทธรณ์หรือฎีกาได้ (เทียบค าสั่งค าร้องฎีกาที่ ๑๙๒๖/๒๕๔๘) และเมื่อศาลมีค าสั่งลงโทษผู้ใด

                  ฐานละเมิดอ านาจศาลตามมาตรา ๓๓ แล้ว ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะ

                  เป็นค าสั่งตามมาตรา ๒๒๘(๑) (ค าสั่งค าร้องที่ ๖๖/๒๕๑๖)  ผู้ที่ถูกลงโทษมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้

                  (ฎีกาที่ ๑๓๑๖/๒๕๑๙)  จ าเลยหรือทนายจ าเลยที่ขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาในความผิดฐาน

                  ละเมิดอ านาจศาล  จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันจะมีสิทธิฎีกาค าพิพากษาต่อไป(ฎีกาที่ ๑๒๔๘/๒๕๓๕)

                         ส าหรับพนักงานอัยการนั้นตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๑๑ (๗)

                  (เดิม) พนักงานอัยการมีอ านาจฎีกาในคดีละเมิดอ านาจศาลได้ แต่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและ

                  พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติถึงอ านาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ

                  ในมาตรา ๑๔ (๑) ถึง (๑๑) มิได้มีอนุมาตราใดระบุให้พนักงานอัยการมีอ านาจฎีกาคดีละเมิด

                  อ านาจศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ในปัจจุบันนี้พนักงานอัยการจึงไม่มีอ านาจฎีกาคดีละเมิดอ านาจศาล

                  ได้อีกแล้ว
   405   406   407   408   409   410   411   412   413   414   415