Page 415 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 415

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๘๗


                  เดือนกุมภาพันธ์ปีใดมี ๒๙ วัน ระยะเวลาอุทธรณ์ย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์  (ป.พ.พ.
                                                                                                    *
                  มาตรา ๑๙๓/๕ วรรคหนึ่ง)

                                       ๕. วันที่ ๓๐ มกราคม เมื่อก าหนดระยะเวลาอุทธรณ์ต้องอุทธรณ์ภายใน ๑ เดือน

                  ระยะเวลาเริ่มต้นนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคมตามมาตรา ๑๙๓/๓ วรรคสอง

                  เป็นกรณีที่ระยะเวลามิได้ก าหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนอยู่ในบังคับของมาตรา ๑๙๓/๕

                  วรรคสอง วันเริ่มระยะเวลาคือวันที่ ๓๑ มกราคม วันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็น

                  วันตรงกับวันเริ่มระยะเวลาไม่มีวันตรงกัน เพราะเดือนกุมภาพันธ์มี ๒๘ วัน ดังนั้น วันสิ้นสุด


                  ระยะเวลาย่อมเป็นไปตามมาตรา ๑๙๓/๕ วรรคสองตอนท้าย ซึ่งให้ถือว่าวันสุดท้ายแห่งเดือน
                  สุดท้ายเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา ระยะเวลาอุทธรณ์ย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์


                  แม้ศาลชั้นต้นอ่านค าพิพากษาหรือค าสั่งวันที่ ๒๙ มกราคม ระยะเวลาอุทธรณ์ย่อมสิ้นสุดลงใน

                  วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์เช่นเดียวกัน เว้นแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีใดมี ๒๙ วัน ระยะเวลาอุทธรณ์ย่อม

                  สิ้นสุดลงในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์  (ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๕ วรรคสอง)
                                                 **
                                       ๖. ถ้าวันสุดท้ายของเดือนเป็ นวันที่ ๒๘ หรือ ๒๙ กุมภาพันธ์ แล้วแต่กรณี

                  เมื่อก าหนดระยะเวลาอุทธรณ์ต้องอุทธรณ์ภายใน ๑ เดือน ระยะเวลาเริ่มต้นนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น

                  ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคมตามมาตรา ๑๙๓/๓ วรรคสอง เป็นกรณีที่ระยะเวลาก าหนดนับตั้งแต่วันต้น

                  แห่งเดือน ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๑๙๓/๕ วรรคสอง วันครบก าหนดระยะเวลาอุทธรณ์

                  ๑ เดือน จึงต้องค านวณตามปีปฏิทินตามมาตรา ๑๙๓/๕ วรรคหนึ่ง เมื่อเดือนมีนาคมตามปี

                  ปฏิทินมี ๓๑ วัน ระยะเวลาอุทธรณ์ย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ ๓๑ มีนาคมของปีนั้น  (ป.พ.พ. มาตรา
                                                                                            ***
                  ๑๙๓/๕ วรรคหนึ่ง)

                                      หากวันสุดท้ายที่ครบก าหนดระยะเวลาอุทธรณ์เป็นวันหยุดท าการ คู่ความย่อมมีสิทธิ

                  ยื่นอุทธรณ์ในวันที่เริ่มท าการใหม่ต่อจากวันหยุดท าการนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๘ แต่หาก

                  ศาลมีค าสั่งขยายเวลาอุทธรณ์ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา  ๑๙๓/๑  ซึ่งให้นับวันที่ต่อจากวัน

                  สุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป (ฎีกาที่ ๑๒๘ - ๑๒๙/๒๕๓๖)

                  ในกรณีที่ศาลมีค าสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์โดยไม่ได้ก าหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป


                  ก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบก าหนดระยะเวลาเดิมตามมาตรา ๑๙๓/๗ เช่น ครบก าหนดยื่นอุทธรณ์





                  *  ศักดิ์  สนองชาติ, ค าอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นิติกรรม สัญญา, (กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์นิติบรรณการ, ๒๕๕๗), หน้า ๕๖๓.
                  และ ก าชัย  จงจักรพันธ์, ค าอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ระยะเวลาและอายุความ, (กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์
                  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), หน้า ๓๖.
                  **  ศักดิ์ สนองชาติ, หน้า ๕๖๒-๕๖๓. และ ก าชัย  จงจักรพันธ์, หน้า ๔๑.
                  ***  ศักดิ์ สนองชาติ, หน้า ๕๖๒. และ ก าชัย  จงจักรพันธ์, หน้า ๓๗.
   410   411   412   413   414   415   416   417   418   419   420