Page 416 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 416

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๘๘


                  วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นวันเสาร์ แม้คู่ความจะมีสิทธิยื่นค าร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์

                  ในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นวันที่เริ่มท าการใหม่ได้ แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไป

                  ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบก าหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๒

                  (เทียบฎีกาที่ ๘๗๓๕/๒๕๔๒)


                                    ข้อสังเกต ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๗๓๕/๒๕๔๒ เป็นกรณีที่ศาลอนุญาตให้

                  ขยายระยะเวลาออกไปโดยมิได้มีการก าหนดระยะเวลาเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป

                  กรณีจึงต้องด้วยมาตรา ๑๙๓/๗ ให้นับวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้น

                  ดังนั้น หากค าสั่งขยายระยะเวลาของศาลได้มีการก าหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป

                  อย่างไร ก็ต้องเริ่มต้นนับแต่วันนั้น


                                   ข้อสังเกต

                                   ๑. การสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ควรระบุให้ชัดเจนว่าขยายให้ถึงวันที่เท่าไร

                  เช่น “ตามค าร้องมีพฤติการณ์พิเศษ  อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่

                  ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ส าเนาให้โจทก์”

                                   ๒.  ควรตรวจสอบวันหยุดราชการ ตามที่มีประกาศให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง

                  ในแต่ละปีและระบุไว้ในค าสั่งให้ชัดเจน เช่น “ครบก าหนดอุทธรณ์วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓

                  ตรงกับวันศุกร์ซึ่งมีประกาศให้เป็นวันหยุดต่อเนื่องจากวันสงกรานต์  จ าเลยจึงยื่นอุทธรณ์ใน

                  วันจันทร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นวันที่เริ่มท าการใหม่ต่อจากวันที่หยุดท าการนั้นได้

                  รับอุทธรณ์ . . .”


                            ๑.๒ ตรวจอุทธรณ์ในเบื้องต้น

                                      ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๘ หากศาลชั้นต้นพบข้อบกพร่องก็มีอ านาจสั่งคืนอุทธรณ์นั้น

                  ไปให้ท ามาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมภายในเวลาที่ศาลก าหนดหากไม่ปฏิบัติตามให้มีค าสั่ง

                  ไม่รับอุทธรณ์


                            ๑.๓  ตรวจความถูกต้องครบถ้วนในค าฟ้องอุทธรณ์ ได้แก่

                                      ๑.๓.๑  อุทธรณ์จะต้องบรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างโดยชัดแจ้ง

                  มีข้อความโต้แย้งค าพิพากษาหรือค าสั่งศาลชั้นต้นพร้อมด้วยเหตุผล (ฎีกาที่ ๔๐๐๔/๒๕๒๘,

                  ๑๘๖/๒๕๒๙, ๒๕๒๕/๒๕๓๐, ๔๘๓/๒๕๓๔, ๑๖๖๓/๒๕๓๙, ๖๔๐/๒๕๔๐)  และต้องเป็น

                  ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น  ทั้งต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการ

                  วินิจฉัย (ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง)
   411   412   413   414   415   416   417   418   419   420   421