Page 417 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 417
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๘๙
๑.๓.๒ คดีมีข้อห้ามหรือข้อจ ากัดสิทธิในการอุทธรณ์หรือไม่ ได้แก่
(๑) ข้อห้ามข้อจ ากัดสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๓๘, ๑๖๘, ๑๘๘, ๒๒๒,
๒๒๔ และ ๒๒๕ ว่าด้วยการอุทธรณ์ โดยตรวจดูข้อยกเว้นที่ท าให้เกิดสิทธิอุทธรณ์ได้ในแต่ละ
มาตราดังกล่าวด้วย
(๒) มีกฎหมายบัญญัติให้ค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด
เช่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๘, ๑๔, ๒๘, ๑๓๖, ๑๓๗, ๑๔๖, ๑๕๔, ๑๕๖/๑, ๑๙๙ เบญจ วรรคสี่, ๒๓๐,
๒๓๖, ๒๖๗, ๒๘๘, ๒๙๓, ๒๙๖, ๓๐๙ และ ๓๐๙ ทวิ เป็นต้น ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์
(๓) ห้ามอุทธรณ์ค าสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๖
๑.๓.๓ คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๔หรือไม่
มีข้อพิจารณา ดังนี้
(๑) สิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงถือตามจ านวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้น
อุทธรณ์ แต่ส าหรับราคาทรัพย์สินที่พิพาทถือตามราคาทรัพย์ในขณะยื่นฟ้อง ถ้าราคาทรัพย์สิน
พิพาทมีราคาไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ในขณะยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
(ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๑๔๗๕/๒๕๓๕ และฎีกาที่ ๒๑๐/๒๕๓๗, ๔๐๘/๒๕๓๘, ๑๐๖๙/
๒๕๓๙)
(๒) คดีหลายเรื่องรวมพิจารณาหรือโจทก์หลายคนฟ้องรวมมาในคดี
เดียวกันและเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ คิดทุนทรัพย์แยกเป็นรายส านวนหรือตามจ านวนหนี้
ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง (ฎีกาที่ ๑๕๐๔/๒๕๒๐, ๒๒๐๒/๒๕๒๐, ๙๒๙ - ๙๓๐/๒๕๒๕, ๒๓๘๙/๒๕๓๖,
๒๔๑๙/๒๕๓๖, ๓๘๓๐/๒๕๓๗, ๖๓/๒๕๓๘, ๕๔๙๕/๒๕๓๘)
(๓) โจทก์ฟ้องจ าเลยคนเดียวเรียกทรัพย์หลายอย่างในคดีเดียวกัน
คิดราคาทรัพย์รวมกันเป็นจ านวนทุนทรัพย์ หรือกรณีที่โจทก์ฟ้องจ าเลยเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้
หลายฉบับ ให้เอาจ านวนเงินตามสัญญากู้ทุกฉบับมารวมกันเป็นทุนทรัพย์ เช่น ในกรณีที่โจทก์
ฟ้องให้จ าเลยคนเดียวรับผิดช าระเงินกู้ ๒ ฉบับ มาในค าฟ้องเดียวกันโดยแยกท าสัญญากู้เป็น
๒ ฉบับ การวินิจฉัยสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจะต้องค านวณโดยการรวมทุนทรัพย์ตาม
สัญญากู้ทั้ง ๒ ฉบับ ในค าฟ้องนั้น (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๑๐๗๖/๒๕๑๔ ประชุมใหญ่และฎีกาที่
๒๗๒๖/๒๕๒๘ ประชุมใหญ่) ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗ ประกอบด้วยมาตรา
๒๕ (๔) บัญญัติให้ศาลแขวงมีอ านาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจ านวนเงิน
ที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาทนั้น จ านวนเงินที่ฟ้องนี้หมายถึงจ านวนเงินรวมกันในค าฟ้องที่โจทก์
แต่ละคนขอให้ศาลบังคับให้จ าเลยช าระไม่ว่าเงินจ านวนดังกล่าวจะเกิดจากมูลหนี้รายเดียว
หรือมูลหนี้หลายรายรวมกันก็ตาม เมื่อรวมจ านวนเงินที่ฟ้องในมูลหนี้เหล่านั้นแล้วมีจ านวนไม่เกิน