Page 422 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 422

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๙๔


                                             ๖. ศาลชั้นต้นมีค าสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จ าหน่ายคดี โจทก์อุทธรณ์ค าสั่งดังกล่าว

                  ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์  ๒๐๐ บาท  (ฎีกาที่  ๗๖๐๐/๒๕๔๑)

                                             ๗. โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่

                  ตามรูปคดี  ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี  เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง  ๒๐๐ บาท (ฎีกาที่

                  ๔๘๑๔/๒๕๕๐, ๖๗๓๕/๒๕๔๘, ๖๐๐๘/๒๕๔๘, ๓๐๑๙/๒๕๔๑, ๒๕๑๖/๒๕๔๑)

                                      ๑.๓.๖  การอุทธรณ์ค าพิพากษาหรือค าสั่งชั้นบังคับคดี

                                                -  การขอกันส่วน  (มาตรา ๒๘๗)  และขอเฉลี่ยทรัพย์  (มาตรา ๒๙๐)  เป็นคดี

                  ไม่มีทุนทรัพย์  (ฎีกาที่ ๘๕๕/๒๕๑๕ และ ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๑๙/๒๕๑๙) ไม่ต้องห้าม

                  อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา ๒๒๔ วรรคสอง


                                                -  การขอรับเงินในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิหรือเจ้าหนี้จ านอง (มาตรา ๒๘๙)
                  เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาตามราคาทรัพย์ที่ผู้ร้องตั้งเป็นข้อพิพาท


                  (ฎีกาที่ ๑๐๘๒/๒๕๐๔) และจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามทุนทรัพย์

                  พิพาทดังกล่าว

                                                ถ้าเป็นเจ้าหนี้จ านองตามค าพิพากษาไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก เพียงแต่ต้องท า

                  เป็นค าร้อง

                                                -  การร้องขัดทรัพย์ ต้องพิจารณาถึงทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามหรือไม่  โดยถือตาม

                  ทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ (ฎีกาที่ ๓๐๖/๒๕๑๓) มิใช่พิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีเดิม

                  (ฎีกาที่ ๗๘๙/๒๕๒๑)



                                                - อุทธรณ์ชั้นบังคับคดีในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์

                  อันมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.

                  มาตรา ๒๒๔ วรรคสอง  ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน (ฎีกาที่ ๕๘๐๑/

                  ๒๕๓๙)

                                ๑.๓.๗ กรณีค าสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งห้ามไม่ให้อุทธรณ์ทันที จะอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อ

                  ศาลมีค าพิพากษาหรือค าสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๖ (๒) และการโต้แย้งค าสั่ง

                  ระหว่างพิจารณานั้น  ต้องโต้แย้งภายหลังที่ศาลได้มีค าสั่งแล้ว (ฎีกาที่ ๕๖๕/๒๕๔๐) เว้นแต่ไม่มี

                  โอกาสโต้แย้งค าสั่งได้ทัน เช่น โจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายไปยื่นค าร้องขอเลื่อนคดี

                  ศาลมีค าสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี โดยศาลชั้นต้นมีค าสั่งในวันเดียวกับที่มีค าพิพากษาหรือสั่งแล้ว

                  นัดฟังค าพิพากษาในวันรุ่งขึ้น ถือว่าคู่ความไม่มีเวลาที่จะโต้แย้งค าสั่งนั้น (ฎีกาที่ ๒๖๗๗/๒๕๒๖,

                  ๓๑๘/๒๕๓๖)
   417   418   419   420   421   422   423   424   425   426   427