Page 419 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 419
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๙๑
หรือไม่ กรณีทนายความเป็นผู้ยื่นอุทธรณ์โดยตัวความมิได้ให้อ านาจในการอุทธรณ์ไว้ ต้องยื่น
ใบแต่งทนายความต่อศาล ถ้าเป็นโจทก์ในคดีเดิมซึ่งทนายความ มีอ านาจว่าความต่อไปในชั้น
ร้องขัดทรัพย์ หรือขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีเรื่องอื่นให้แก่ลูกความของตนได้ ให้อุทธรณ์ในเรื่องนั้น
ได้โดยไม่ต้องท าใบแต่งทนายความใหม่ (ฎีกาที่ ๑๒๒๕/๒๕๐๙) และถ้าใบแต่งทนายความเดิม
ให้อ านาจอุทธรณ์ได้ ทนายความย่อมมีอ านาจลงชื่อในอุทธรณ์ได้ (ฎีกาที่ ๔๑๙/๒๔๙๓)
แต่ถ้าทนายความนั้น ขาดต่อใบอนุญาต การด าเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในการเรียง
ค าให้การยื่นต่อศาล ย่อมไม่ชอบ แม้ต่อมาทนายความนั้นจะได้ยื่นค าขอจดทะเบียนและได้รับ
ใบอนุญาตเป็นทนายความแล้วก็ตาม ศาลฎีกาเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นได้
(ฎีกาที่ ๒๙๐๔ - ๒๙๐๕/๒๕๓๗, ๑๐๔๓/๒๕๓๘) และผู้ที่ได้รับมอบอ านาจจากตัวความ
ให้ฟ้องและด าเนินคดีแทนย่อมเรียงอุทธรณ์และลงชื่อในฟ้องอุทธรณ์ได้ด้วยตนเองเช่นเดียวกับ
ตัวความหรือทนายความ (ฎีกาที่ ๒๙๔๗/๒๕๑๖ ประชุมใหญ่, ๓๒๖๖/ ๒๕๒๗)
๑.๓.๕ ตรวจว่าเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนครบถ้วน
ถูกต้องหรือไม่
๑) กรณีที่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ตามค าพิพากษาหรือค าสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๙ ต้องเป็นอุทธรณ์ที่มีผลโดยตรงท าให้
ค าพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนหรือสิ้นผลบังคับ มีดังนี้
(๑) อุทธรณ์คัดค้านค าพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลอุทธรณ์
พิพากษากลับให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี ไม่ว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายก็ตาม
(๒) อุทธรณ์ค าสั่งศาลชั้นต้น ซึ่งมีค าสั่งมาโดยไม่ชอบและหาก
อุทธรณ์ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษายกค าพิพากษาและค าสั่งศาลชั้นต้น อันจะมีผล
ท าให้ค าพิพากษาของศาลชั้นต้นต้องถูกยกเลิกหรือเพิกถอนไป ได้แก่ การอุทธรณ์ค าสั่งระหว่าง
พิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๖ เช่น ค าสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี (ฎีกาที่ ๒๑๕/๒๕๔๔) ค าสั่ง
งดสืบพยาน (ฎีกาที่ ๒๘๘๙/๒๕๔๐) ค าสั่งอนุญาตให้แก้ไขค าฟ้องค าให้การ ค าสั่ง
ไม่อนุญาตให้จ าเลยยื่นค าให้การ และการอุทธรณ์ค าสั่งที่มิให้ถือว่าเป็นค าสั่งระหว่างพิจารณา
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๗
(๓) อุทธรณ์ค าสั่งศาลชั้นต้นที่ยกค าร้องขอเพิกถอนกระบวน
พิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ ซึ่งมีผลท าให้ค าพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกยกเลิก
หรือเพิกถอนไปด้วย (ฎีกาที่ ๗/๒๕๔๔, ๒๕๕๒ - ๒๕๖๒/๒๕๔๙)
(๔) อุทธรณ์ค าสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
(ฎีกาที่ ๒๘๘๙/๒๕๔๔, ๗๔๘๙/๒๕๔๖ ประชุมใหญ่)